google-site-verification=AZYzOVBMoD50hYwO-aFXTfIkjYm89QkuL326hVK9ig0

การวัดสัญญาณชีพ ทักษะพื้นฐานเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้

การวัดสัญญาณชีพ ทักษะพื้นฐานเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้ ด้วยตัวเอง

สัญญาณชีพ (Vital signs) คือ ค่าความดันโลหิต (Blood pressure) อุณหภูมิ (Temperature) ชีพจร (Pulse) และการหายใจ (Respiration) ใช้ตัวย่อคำว่า T,P,R และ BP สัญญาณชีพเป็นสิ่งบ่งชี้การทำงานของระบบในร่างกาย ถ้าเปลี่ยนแปลงไปแสดงถึงภาวะสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะประเมิณสุขภาพ

สัญญาณชีพพูดเป็นที่เข้าใจง่ายๆ คือ อาการสำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่บ่งบอกถึงความปกตอ หรือ ผิดปกติ ของร่างกาย ประกอบด้วย 4 อาการ ที่จะแสดงให้แพทย์ สามารถตรวจพบได้ คือ

  • ความดันโลหิต (Blood pressure ย่อว่า BP)
  • อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature ย่อว่า T)
  • ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Pulse หรือ Pulse rate ย่อว่า P)
  • อัตราการหายใจ (Respiratory rate ย่อว่า RR หรือ R)

ความดันโลหิต (Blood pressure ย่อว่า BP)

ความดันโลหิต

หมายถึง แรงของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ ถ้าพูดให้เข้าใจและเห็นภาพมากยิ่งขึ้น (ก็จะคล้ายแรงลมที่ดันผนังของยางรถ เมื่อเราสูบลมเข้า) สามารถวัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดัน  (Sphygmomanometer) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือ 

  • ค่าความดันช่วงบน หรือ ความดันซิสโตลี (Systolic blood pressure) แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ แต่ความดันช่วงบนของคนช่วงอายุเท่ากันอาจจะมีค่าที่แตกต่างกันออกไป ตามท่าเคลื่อนไหวของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลังกาย
  • ค่าความดันช่วงล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลี (Diastolic blood pressure) หมายถึง  แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว มาดูค่าความดันโลหิตปกติ และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง กันเถอะค่ะ

ประเภท ความดันช่วงบน (มม.ปรอท) ความดันช่วงล่าง (มม.ปรอท)

ความดันปกติ < 120 และ < 80
ความดันโลหิตปกติที่ค่อนไปทางสูง 120-129 และ < 80
ความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 130-139 และ/หรือ 80-89
ความดันโลหิตสูงระดับที่ 2 ≥ 140 และ/หรือ ≥ 90
ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว ≥ 140 และ < 90

อุณหภูมิ (Body Temperature ย่อว่า T)

ตำแหน่งที่ทำการวัดอุณหภูมิ การวัดอุณหภูมิร่างกาย โดยปกติแล้วจะมี 4 ตำแหน่งหลัก ๆ ซึ่งก็คือ หู ทวารหนัก ใต้ลิ้น และรักแร้ ซึ่งในแต่ละตำแหน่งนั้นมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน และถ้าหากไม่ทราบว่าตำแหน่งไหนควรอยู่ในระดับเท่าไหร่ ก็อาจเกิดการเข้าใจผิดได้ ซึ่งถ้าหากวัดไข้แล้วได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้อาจต้องรักษาตัวเนื่องจากเป็นไข้

  • ปาก อุณหภูมิเมื่อเป็นไข้จะอยู่ที่ 37.8 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า
  • รักแร้ อุณหภูมิเมื่อเป็นไข้จะอยู่ที่ 37.2 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า
  • หูและทวารหนัก อุณหภูมิเมื่อเป็นไข้จะอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า
  • หน้าผาก อุณหภูมิเมื่อเป็นไข้จะอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า

ปัจจัยที่มีผลต่ออุณหภูมิของร่างกาย

เพศ โดยปกติแล้วเมื่อร่างกายได้รับความเย็น กลไกของร่างกายจะทำหน้าเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย ซึ่งเพศก็มีผลต่อกระบวนการนี้ โดยร่างกายเพศหญิงจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้รวดเร็วกว่าเพศชาย จึงอาจทำให้เกิดอาการสั่น หรือเนื้อตัวเย็นได้ไวกว่าเพศชาย  นอกจากนี้ ในช่วงที่ผู้หญิงมีรอบเดือนจะมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาหลายชนิด ซึ่งอาจส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
อายุ อายุเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิร่างกายปกติ โดยคนในแต่ละช่วงอายุอาจมีอุณหภูมิร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • เด็กและทารก อุณหภูมิร่างกายปกติจะอยู่ระหว่าง 36.6-37.2 องศาเซลเซียส
  • ผู้ใหญ่ มีอุณหภูมิปกติของร่างกายอยู่ระหว่าง 36.1-37.2 องศาเซลเซียส
  • ผู้สูงอายุ ที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป จะมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 36.2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าคนวัยอื่น ๆ

แต่อย่างไรก็ตามอุณหภูมิร่างกายก็เปลี่ยนไปตามปัจจัยอื่นๆ ระดับอุณหภูมิยังสามารถเปลี่ยนไปตาม อาหารที่กินเข้าไปในร่างกาย หรือสิ่งที่ร่างกายได้รับ

บุหรี่ การสูบบุหรี่นั้นสามารถเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายได้ ซึ่งอาจมีผลมาจากควันบุหรี่และการเผาไหม้ของของบุหรี่ที่กระทบต่ออุณหภูมิของร่างกายได้ชั่วคราว แม้ว่าอุณหภูมิจากบุหรี่จะไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่การได้รับสารในบุหรี่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
อาหาร อาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อย่างพริก พริกไทย ขิง ข่า เครื่องเทศ หรือวัตถุดิบอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์ร้อนก็อาจส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายนั้นสูงขึ้น หลังจากการรับประทาน 

ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Pulse หรือ Pulse rate ย่อว่า P) การวัดสัญญาณชีพ ทักษะพื้นฐานเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้

ปกติแล้วคนทั่วไปชีพจรจะเต้น 60-100 ครั้งต่อนาที แต่รู้หรือไม่ว่าคนที่มีสุขภาพดีชีพจรจะเต้นต่ำกว่า 90 ครั้งต่อนาที เพราะการที่หัวใจเต้นเป็นปกติดีแสดงถึงความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดต่าง ๆ แล้วถ้าชีพจรเต้นเร็วผิดปกติล่ะ จะมีอันตรายต่อชีวิตหรือไม่
วิธีการ วัดชีพจร
ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง ขึ้นบันได ยกของหนัก หรือการทำงานหนักที่หัวใจเต้นเร็วแรงขึ้น ดังนั้น ควรวัดชีพจรตอนที่นั่งพักเฉย ๆ มาสักระยะแล้วอย่างน้อย 5-10 นาที รวมถึงการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนอย่างชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง หากดื่มมาแล้วควรเว้นระยะก่อนวัดชีพจร 1 ชั่วโมงขึ้นไป
วิธีการวัดชีพจรง่าย ๆ ทำได้โดยการวางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนข้อมือ กดลงไปเบา ๆ จะรับรู้ได้ถึงสัญญาณชีพที่เต้นตุ้บ ๆ อยู่ ให้จับเวลา 30 วินาทีแล้วนับว่าหัวใจเต้นไปกี่ครั้ง จากนั้นนำตัวเลขที่วัดได้มาคูณสอง (x2) ผลลัพธ์ที่ออกมาคือจำนวนการเต้นหัวใจภายใน 1 นาที และเพื่อความแม่นยำแนะนำให้ทำซ้ำอย่างน้อย 2-3 ครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย
เคล็ดลับการวัดชีพจรให้ได้ผลดี : ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการวัดชีพจรคือตอนเช้าหลังจากการตื่นนอน แต่หากว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สามารถตรวจชีพจรอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยวัดชีพจรในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า กลาง เย็น และก่อนนอน จากนั้นนำมาค่าหาเฉลี่ยจะได้ค่าชีพจรที่ถูกต้อง
ชีพจรเต้นเร็วไปจะแก้อย่างไรดี
ถ้าชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที วิธีการเบื้องต้นที่สามารถช่วยได้ผลเป็นอย่างดีคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยครั้งละอย่างน้อย 30 นาที และอย่าปล่อยให้ตัวเองอ่อนเพลีย ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอถ้าชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที วิธีการเบื้องต้นที่สามารถช่วยได้ผลเป็นอย่างดีคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยครั้งละอย่างน้อย 30 นาที และอย่าปล่อยให้ตัวเองอ่อนเพลีย ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่าลืมว่าการวัดชีพจรเป็นเพียงการตรวจด้วยตนเองแบบง่าย ๆ เท่านั้น ปัจจัยที่จะให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดยังมีอีกหลายสาเหตุ ถ้าชีพจรเต้นเร็วทุกครั้งที่ทำการตรวจ ร่วมกับอาการเหนื่อยหอบ เจ็บหรือแน่นหน้าอกเมื่อต้องออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด

อัตราการหายใจ (การนับการหายใจ) การวัดสัญญาณชีพ ทักษะพื้นฐานเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้

ความถี่ปกติของการหายใจขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ดังนี้
1. ทารกแรกคลอดจะหายใจเฉลี่ย 44 ครั้งต่อนาที
2. เด็กทารกจะหายใจ 20-40 ครั้งต่อนาที
3. เด็กก่อนวัยเรียนประมาณ: 20–30ครั้งต่อนาที
4. เด็กวัยรุ่น16–25 ครั้งต่อนาที
5. ผู้ใหญ่ 12–20 ต่อนาที
6. ผู้ใหญ่ขณะออกกำลังกาย 35–45 ครั้งต่อนาที

ทุกอย่างในร่างกาย เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ และความแข็งเเรงของร่างกาย อยากมีสัญญาณชีพที่ดี ไม่เสี่ยงต่อโรคภัย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกออกกำลังกำลังกายที่เหมาะกับความแข็งแรงของร่างกาย

จำหน่าย เครื่องทดสอบสมรรถภาพหัวใจ เครื่องมือวิเคราะห์ และวินิจฉัยประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ทีมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยตรวจเช็ค วิเคราะห์ เก็บข้อมูล เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ หาแนวทางการรักษาที่ถูกวิธี และเหมาะสม พร้อมช่วยลดความเสี่ยงได้

ไม่เพียงเเต่การตรวจวัดสัญญาณชีพจรด้วยตัวเอง ควรตรวจสุขภาพประจำปีด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย

เครื่องชั่งน้ำหนักวัดเปอร์เซนต์ไขมัน ด้วยเทคโนโลยี BIA ได้ผ่านกระบวนการศึกษาและวิจัย จากผู้เชี่ยวชาญมามากว่า 20 ปี  เพื่อการหาความสัมพันธ์ของอายุ เพศ น้ำหนัก และส่วนสูง ผ่านค่าความต้านทานกระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านร่างกายโดยไม่เป็นอันตราย และแสดงผลวิเคราะห์ที่เที่ยงตรง และแม่นยำ อย่างรวดเร็วภายในเวลาแค่ 30 วินาที

ASG wellness & Innovation ให้บริการอุปกรณ์ออกกำลังกายรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรม
เพื่อทำให้การออกกำลังกายมีความสะดวก ปลอดภัย และตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล

error: Content is protected !!