google-site-verification=AZYzOVBMoD50hYwO-aFXTfIkjYm89QkuL326hVK9ig0

ปวดหลังส่วนล่าง ปวดเรื้อรัง ร้าวลงสะโพก ขาชา ไม่มีเเรง

ปวดหลังส่วนล่าง ปวดเรื้อรัง ร้าวลงสะโพก ขาชา ไม่มีเเรง

ปวดหลังส่วนล่าง ปวดเรื้อรัง ร้าวลงสะโพก ขาชา ไม่มีเเรง ทำความเข้าใจก่อน กับ อาการปวดหลังคืออะไร คนส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากอาการปวดหลังบ้างในชีวิตประจำวัน ลักษณะการปวดหลังสามารถเป็นได้ตั้งแต่ การปวดแบบเรื่อยๆ (ไม่รุนแรง) อย่างต่อเนื่อง ถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน ปวดเสียวแปลบ (ปวดจี๊ดๆ) ซึ่งทำให้ยากต่อการเคลื่อนไหว มันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หากคุณหกล้ม หรือยกของหนักเกินไป หรือมีอาการแย่ลง (ปวดมากขึ้น) เมื่อเวลาล่วงเลยไป

ประเภทของอาการปวดหลัง ได้แก่ ปวดหลังช่วงล่าง ช่วงกลาง และช่วงบน ชนิดที่พบมากที่สุดคือการปวดหลังช่วงล่าง ซึ่งมีผลต่อบริเวณด้านล่างของกระดูกซี่โครง และด้านบนของขา อาการปวดหลังช่วงบน ในทางกลับกัน เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังที่ไม่ได้พบบ่อย อย่างไรก็ดี มันก็ยังคงสามารถทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด และไม่สบายตัวอย่างมีนัยสำคัญ อาการปวดหลังมีสองรูปแบบ อาการปวดหลังเฉียบพลันที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน ปวดเป็นเวลานานน้อยกว่าหกสัปดาห์ ในขณะที่อาการปวดหลังแบบเรื้อรังจะมีอาการยืดเยื้อนานมากกว่าสามเดือน อาการปวดหลังแบบเรื้อรังพบได้น้อยกว่าอาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน

ปวดหลังบริเวณหลังส่วนล่าง ซึงจะมีอาการราวลงชา เกิดอาการขาชา พบบ่อยในวัยคนทำงานหรือผู้ใหญ่ และประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย จะมีอาการปวดหลังอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต แต่ส่วนมากจะหายเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ในบางรายจะมีอาการปวดหลังเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนอีกครั้งหลังจากหาย ถือว่าเป็นอาการปวดเรื้อรัง อาการของอาการปวดเรื้อรัง คือ ปวดตื้อๆ ปวดเสียดแทง และอาการปวดแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางรายปวดร้าวลงขา ลงสะโพก

อาการปวดหลังมีผล ต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างไร ถ้าเรามีอาการทรมานจากการปวดหลัง และพบกว่าไม่ สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ มันรบกวนกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตของคุณ คุณอาจพบว่าบางอิริยาบถอาจทำได้ยาก เช่น การเดินขึ้นบันได ยกของหนัก (หรือสิ่งของที่คุณเคยยกได้อย่างง่ายดาย) หรือมีความรู้สึกปวดเสียวคล้ายเข็มทิ่ม (ยิบๆ ซ่าๆ) และรู้สึกชาๆ ในขณะเคลื่อนตัว หรืออยู่กับที่

อาการปวดหลังมีสาเหตุ ดังนี้

  1. กระดูกสันหลังผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
  2. อุบัติเหตุเกิดจากกระดูกสันหลังยุบ
  3. เนื้องอก หรือมะเร็งที่กระดูกสันหลัง
  4. การติดเชื้อโรคที่กระดูกสันหลัง
  5. ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม โป่งนูนกดทับเส้นประสาท
  6. เกิดจากใช้งาน ผิดวิธี เช่น การนั่งนาน การยืนนาน หรือการก้มๆ เงยๆ และการก้มยกของหนัก
  7. เกิดจากการเสื่อมของข้อกระดูกหลังตามวัย หรือจากการทำงาน ทำให้ข้อต่อเสื่อม และอักเสบมีผลให้เกิดอาการปวดได้

การรักษา และการหาสาเหตุของการรักษา

ก่อนอื่นต้องหาสาเหตุ ถ้าเกิดท่านั่งทำงานที่นานจนเกินไป โดยที่ไม่เปลี่ยนท่านั่ง หรือนั่งผิดท่า วิธีเบื้องต้น แนะนำให้ปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายจนอาการทุเลาลง ถ้าปวดมากๆ ให้ใช้ยาระงับอาการปวด ยาต้านการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ถ้าได้ยาแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ทำกายภาพบำบัด หรือคลายกล้ามเนื้อ โดยปกติแล้วอาการปวดหลังธรรมดาส่วนใหญ่ จะหายได้ภายหลังการรักษา 1-2 สัปดาห์

การฝึกสร้างกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง มีบทบาทในการลดอาการปวดเรื้อรังบนิเวณหลังได้ โดยเลือกเครื่องออกกำลังกายที่ ลดกระแทก ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีก ยกตัวอย่าง “เครื่องออกกำลังที่ใช้แรงต้านลม”

อาการปวดหลังที่ต้องรีบไปพบแพทย์ การไปหาแพทย์เพื่อปรึกษาหรือรักษา จะต้องถูกประเมิณสถานการณ์แล้วว่ารุนแรงแล้ว มีสาเหตุของอาการปวดหลัง

อาการปวดหลัง เบื้องต้น

ก่อนอื่นต้องหาสาเหตุ ถ้าเกิดท่านั่งทำงานที่นานจนเกินไป โดยที่ไม่เปลี่ยนท่านั่ง หรือนั่งผิดท่า วิธีเบื้องต้น แนะนำให้ปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายจนอาการทุเลาลง ถ้าปวดมากๆ ให้ใช้ยาระงับอาการปวด ยาต้านการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ถ้าได้ยาแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ทำกายภาพบำบัด หรือคลายกล้ามเนื้อ โดยปกติแล้วอาการปวดหลังธรรมดาส่วนใหญ่ จะหายได้ภายหลังการรักษา 1-2 สัปดาห์ การฝึกสร้างกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง มีบทบาทในการลดอาการปวดเรื้อรังบนิเวณหลังได้ โดยเลือกเครื่องออกกำลังกายที่ ลดกระแทก ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีก ยกตัวอย่าง “เครื่องออกกำลังที่ใช้แรงต้านลม”

อาการปวดหลังที่ต้องรีบไปพบแพทย์

  1. มีอาการปวดหลังต่อเนื่องเกิน 4 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุมาจาก
    – หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน อักเสบ โป่งนูน
    – ข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อน
    – ช่องไขสันหลังตีบแคบ จะมีอาการปวดหลัง ชาลงขาเวลาเดิน เมื่อหยุดพักจึงดีขึ้น แต่เมื่อเดินจะมีอาการเดิมไม่หายขาด
    – กระดูกสันหลังเคลื่อน ปวดร้าวลงขา โดยเฉพาะเวลายืนและเดิน
    – กระดูกสันหลังคด ผิดรูป
  2. อาการปวดหลังภายหลัง การก้อมยกของ เกิดจากกระดูกสันหลังพรุนหักยุบ
  3. ปวดหลัง ปวดร้าวลงมาที่ขา ชาขา
  4. อาการปวดหลังและปวดขา เป็นมากขึ้นเมื่อเหยียดเข่า ยกขาสูง หรือก้มหลังลง
  5. อาการปวดหลังมาก เมื่อหกล้มหรือก้นกระแทกพื้น
  6. ผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็นเนื้องอก มะเร็ง แล้วมีอากาปวดหลัง ประกอบกับมีน้ำหนักตัวที่ลดลง
  7. ปวดหลังและมีไข้ร่วมด้วย
  8. มีอาการผิดปกติในระบบขับถ่าย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีอาการชา รอบๆ ทวารหนัก

วิธีการ ส่งเสริมให้กระดูกสันหลังคงสภาพการใช้งานดีไม่สึกหรอง่าย มีดังนี้

  1. นั่งหลังตรงมีพนักพิง
  2. ไม่นั่งผิดท่า หรือนั่งท่าเดิมๆ นานจนเกินไป
  3. เวลายืนให้ขาหย่อนข้างนึง
  4. พยายามหลีกเลี่ยงการเอื้อมแขนยกของสูง
  5. ใช้วิธีดันของ ดีกว่าใช้วิธีการดึง
  6. ย่อตัวยก หลักเลี่ยงการก้มยกของ
  7. หิ้วของ โดยที่ไม่นักจนเกินกำลังตัวเอง และใช้พลังของแขนทั้ง 2 ข้าง
  8. นอนให้ถูกท่า
  9. อย่าปล่อยตัวเองให้อ้วน จนเกินมาตรฐาน
  10. ไม่ควรสูบบุหรี่
  11. ออกกำลังกายให้เหมาะสมเป็นประจำ
  12. รีบพบแพทย์เมื่อเริ่มปวดหลัง

อาการปวดหลังร้าวลงขา รักษาด้วยการออกกำลังกายได้หรือไม่ ?

ผู้ป่วยโรคกระดูกทับเส้นควรเข้ารับการรักษาตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้น โดยแพทย์อาจแนะนำการออกกำลังกายซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคนี้ควบคู่ไปกับวิธีอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้องและหลัง ซึ่งจะช่วยลดแรงกดที่กระดูกสันหลังและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บน้อยลงขณะออกแรงทำกิจกรรมหนัก ๆ อีกทั้งยังป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรังเกี่ยวกับหลังได้ ท่าบริหารสำหรับผู้มีอาการกล้ามเนื้อสะโพกตึงตัว ได้ผลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูก

อุปกรณ์ช่วยลดอาการ ปวดหลังร้าว ลงขา

ปวดหลัง อันเนื่องมาจากสาเหตุเช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่

ASG wellness & Innovation ให้บริการอุปกรณ์ออกกำลังกายรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรม
เพื่อทำให้การออกกำลังกายมีความสะดวก ปลอดภัย และตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล

error: Content is protected !!