google-site-verification=AZYzOVBMoD50hYwO-aFXTfIkjYm89QkuL326hVK9ig0

เบาหวาน ภัยเงียบใกล้ตัวที่หลายคนไม่รู้

สาเหตุของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) เป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรังที่มีค่าสถิติการเกิดโรคที่อันดับต้นของโลก ยังคงมีสถิติการพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ยังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพราะถือว่าโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดและมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนจนสามารถลุกลามถึงขั้นต้องสูญเสียอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก เนื่องจากวันนั้นเป็นวันเกิดของ Frederick Banting ผู้ค้นพบอินซูลิน ยาฉีดลดน้ำตาลในเลือดที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้

จากข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ที่ประชากรป่วยเป็นเบาหวานอยู่ที่ 108 ล้านคนจนในปี พ.ศ. 2557 เพิ่มเป็น 422 ล้านคน และพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง อีกทั้งยังพบว่าปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากการเป็นโรคเบาหวานถึง 1.5 ล้านคน และ อีก 2.2 ล้านคนเสียชีวิตเนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูง

สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย พบว่าประเทศไทยพบแนวโน้มผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 ประมาณการของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีผู้ป่วยเบาหวาน 4.8 ล้านคน ในจำนวนนี้มีมากถึง 2 ล้านคน ที่ไม่ทราบว่าตนเองป่วยและยังไม่ได้รับการวินิจฉัย และมีผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานถึง 7.7 ล้านคน  และอาจเกิดความเสี่ยงทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

โรคเบาหวานในประเทศไทยมักจะพบในช่วงอายุ 20-79 ปี เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 8.3 หรือ หมายความว่าใน 100 คน จะพบคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 8 คน  ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3.2 ล้านรายเพิ่มเป็น 4.8 ล้านรายในปี พ.ศ. 2557 และจำนวนมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานและไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน  นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 78.5 หรือมากกว่า 3 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีโรคแทรกซ้อนอย่างโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

ตรวจน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ด้วยวิธีการเจาะเลือดที่นิ้ว

          โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเนื่องจากการทำงานผิดปกติของร่างกายในการผลิตฮอร์โมนจากตับอ่อน โดยไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ขึ้นมาได้ หรือ ร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)ส่งผลให้ร่างกายไม่มีขบวนการนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ในเซลล์ เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ   จึงทำให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ถ้าปริมาณน้ำตาลในเลือดยังคงสูงและมีการสะสมในปริมาณมาก  โดยอาการของโรคเบาหวาน มีดังนี้ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ผิวแห้ง เป็นแผลแล้วหายยาก  ตาพร่ามัว ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า และหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น  ซึ่งโรคเบาหวานจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดการเสื่อมของอวัยวะอื่น ๆของร่างกายได้เร็วยิ่งขึ้นและส่งผลโดยตรงกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ ตา และ ระบบประสาทส่วนปลาย (diabetic neuropathy) โดยเบาหวานสามารถแบ่งประเภท ทั้งหมดได้  4 ประเภท

  1. เบาหวานชนิดที่ 1 (diabetes mellitus type 1 หรือ Insulin -dependent diabetes :IDDM) เกิดจากตับอ่อนถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของร่างกาย จนไม่สามารถผลิต Tnsulin อินซูลินได้เลย เนื่องจากตับอ่อนเป็นผู้ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อช่วยให้ดูดซึมกลับของน้ำตาลในหลอดเลือดเข้าสู่เซลล์ร่างกาย จะให้ร่างกายได้ไปสร้างพลังงานต่อ  โดยเบาหวานประเภทนี้ร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน  มักจะพบในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี และเกิดขึ้นได้ประมาณ 5-10%
  2. เบาหวานชนิดที่ 2 (diabetes mellitus type 1 หรือ Non – Insulin dependent diabetes : NIDDM) เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน เกิดจากการที่ เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่อการ ทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดกลับเข้าร่างกายได้ จนทำให้ร่างกายยิ่งผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อให้สามารถนำน้ำตาลในเลือดกลับเข้าร่างกายได้แบบเดิม จึงทำให้ตับอ่อนทำงานหนักมากขึ้น  เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการได้ จึงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2  ซึ่งมาจากปัจจัย ที่ทำให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2  เกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน  เช่น ไม่ออกกำลังกาย    มีพฤติกรรมเหนื่อยนิ่ง   ปัญหาการนอนหลับ  การรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง(Metabolic Syndrome) เชื้อชาติ  พันธุกรรม  และ พฤติกรรมเหนื่อยนิ่ง  การใช้ยาบางชนิด เช่น  สเตียรอยด์โดยเฉพาะภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ สูบบุหรี่ แต่ยังไม่ทราบสาเหตุได้อย่างแน่ชัด พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95   
  3. เบาหวานที่เกิดในช่วงตั้งครรภ์ ( Gestational Diabetes ) ขณะตั้งครรภ์คุณแม่มีภาวะเป็นเบาหวาน แต่ก่อนตั้งครรภ์ไม่เคยมีประวัติการเป็น เบาหวานมาก่อน จะหายจากการเป็นเบาหวานได้ เมื่อทำการคลอดบุตรไปแล้วแต่จะมี ความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้อีกในอนาคต มีงานวิจัยรองรับโดยกล่าวไว้ว่า ร้อยละ 40 ของผู้หญิงที่มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะพัฒนาเป็นเบาหวานได้ในอนาคต อัตราการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ พบได้ถึง 2-5% ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทั้งหมด
  4. เบาหวานชนิดพิเศษ เกิดจากการผิดปกติจากอวัยวะโดยตรง เช่น โรคตับอ่อนอีกเสบ ตับอ่อนถูกตัด โรคที่มีเหล็กสะสมมากเกินไปในตับจนทำให้ตับเสียหาย  ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และผลจากความผิดปกติทางพันธุกรรม รวมไปถึงผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ หรือการได้รับสารเคมีบางชนิด  โดยเบาหวานชนิดนี้พบได้น้อยมากประมาณ 1-2 %

การวินิจฉัยเบาหวาน ทำได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 4 วิธี ดังต่อไปนี้

  1. มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ  กลิ่นลมหายใจคล้ายผลไม้หอมหวาน (diabetic ketoacidosis)
  2. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่า ≥200 มก./ดล.
  3. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) ≥ 126 มก./ดล. 
  4. การตรวจความทนต่อกลูโคส โดยให้รับประทานกลูโคส 75 กรัม แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมง ถ้ามีค่า ≥ 200 มก./ดล.
  5. การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) ≥ 6.5% โดยวิธีการตรวจและห้องปฏิบัติการต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งยังมีน้อยในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้

ASG wellness & Innovation ให้บริการอุปกรณ์ออกกำลังกายรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรม
เพื่อทำให้การออกกำลังกายมีความสะดวก ปลอดภัย และตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล

error: Content is protected !!