google-site-verification=AZYzOVBMoD50hYwO-aFXTfIkjYm89QkuL326hVK9ig0

ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพและวิธีการดูแลร่างกายให้ถูกต้อง

ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพและวิธีการดูแลร่างกายให้ถูกต้อง

ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพและวิธีการดูแลร่างกายให้ถูกต้อง เมื่อวัยและอายุที่เพิ่มมากขึ้น การทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะย่อมเสื่อมถอยลงไป ปัญหาสุขภาพที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แต่สามารถทำความเข้าใจเรียนรู้วิธีการป้องกันและดูแล จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้อีกยาวนานด้วยสุขภาพที่ดีและมีชีวิตชีวาปัญหาที่พบในผู้สูงอายุนั้น ได้แก่ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพและวิธีการดูแลร่างกายเมื่อวัยและอายุที่เพิ่มมากขึ้น การทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะย่อมเสื่อมถอยลงไป ปัญหาสุขภาพที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แต่สามารถทำความเข้าใจเรียนรู้วิธีการป้องกันและดูแล จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้อีกยาวนานด้วยสุขภาพที่ดีและมีชีวิตชีวาปัญหาที่พบในผู้สูงอายุนั้น ได้แก่
อาการสับสนและสูญเสียความทรงจำ อาการหลงลืมหรือคิดช้าลง เป็นอาการที่พบได้เมื่ออายุมากขึ้น สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่คนในครอบครัวควรสังเกตก็คือ หากพบว่าผู้สูงอายุเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ พฤติกรรมและความทรงจำอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน นั่นอาจเป็นสัญญาณถึงอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมได้ โดยสัญญาณเตือนว่าผู้สูงอายุอาจมีอาการสมองเสื่อม เช่น เรียนรู้หรือจดจำสิ่งใหม่ๆ ลำบาก พูดซ้ำถามซ้ำ เริ่มบกพร่องในการทำสิ่งที่ซับซ้อน หลงหรือลืมทิศทางในที่ที่ควรคุ้นเคย ไม่อยากเข้าสังคมหรือพูดน้อยลง อารมณ์หรือนิสัยเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น

ทั้งนี้ภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเกิดจากการฝ่อของเนื้อสมอง แต่สมองเสื่อมสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ เช่น  โรคต่อมไทรอยด์ โรคเส้นสมองตีบ และการขาดวิตามินบี 12 เป็นต้น
แนะนำ จักรยานชนิดเอนปั่น สำหรับผู้สูงอายุ ช่วยฟื้นฟูความทรงจำ
สำหรับการออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบการเผาผลาญ ที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรง มาพร้อมกับหน้าจอแบบระบบสัมผัส ให้ความรู้สึกเสมือนการปั่นจักรยานจริง และเกมส์ฝึกความจำสำหรับการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

จักรยานปั่นอยู่กับที่ สำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
จักรยานปั่นอยู่กับที่ สำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพและวิธีการดูแลร่างกายให้ถูกต้อง เบื้องต้นควรปรึกษาแพทย์พื่อประเมินอาการและรับการรักษา ถึงแม่ว่าภาวะความจำเสื่อมจะไม่มีทางรักษาหาย แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้ อาทิ การทำกิจกรรมต่างๆ ที่กระตุ้นสมอง เช่น ทำงานหรือทำงานบ้านเท่าที่ทำได้ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับครอบครัวและเพื่อนๆ อ่านหนังสือ เล่นเกม ออกกำลังกาย ด้วย “เครื่องปั่นจักรยาน Cybercycle”

ภาวะกระดูกพรุน เป็นช่วงเวลาที่ผู้ป่วยที่เป็น แทบจะไม่มีอาการที่แสดงออกมาเลย กว่าจะรู้ก็เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หกล้ม กระดูกหักแล้ว ภาวะกระดูกพรุน คือการที่เนื้อกระดูบางเบาลงไป ทำให้มีอาการเปราะบาง หรือหักได้ง่าย
การรักษาโรคกระดูพรุนเบื้องต้น
1 ควรได้รับการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (bone mineral density หรือ BMD) เพื่อทราบระดับความบางของมวลกระดูก เมื่อเทียบกับมวลกระดูกของคนทั่วไปควรได้รับแคลเซียม จากอาหารอย่างน้อย 1000 มิลลิกรัม ต่อวัน
2 หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกระดูกพรุน  ควรรับการรักษาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหรือหัก

ปัญหาการทรงตัวและการหกล้ม และหกล้มในผู้สูงอายุ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเสื่อม กล้ามเนื้อลีบ และอ่อนแรง  โรคทางสมอง ยาต่างๆ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือสภาพแวดล้อมที่มีแสงไม่เพียงพอ พื้นที่เอียงหรือลื่นเปียก ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการหกล้มได้ ปัญหานี้มักพบในผู้สูงอายุจำนวนมากเนื่องจาก จะมีอาการกระดูกพรุนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และเมื่อมีการหกล้ม จึงทำให้กระดูกหักได้ง่าย และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้
การป้องกันและการดูแล
1 หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ง่วงซึม เนื่องจากอันตรายในการทรงตัว
2 ตรวจสอบเช็คสภาพมวลกระดูกเพื่อประเมินหาโรคเบื้องต้น
3 ปรับสิ่งแวดล้อม เช่น เพิ่มไฟสว่าง พื้นที่กันลื่น มีราวจับ และเก็บสิ่งกีดขวางในทางเดิน
4 ออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ โดนเน้นความเเข็งเเรงของกล้ามเนื้อ เช่น การบริหารกล้ามเนื้อ ขา หลัง เพื่อการทรงตัว และพยงตัวของร่างกาย

อาการนอนไม่หลับ คุณภาพการนอนที่ลดน้อยลง อาจจะหลับยาก ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก และตื่นมาไม่รู้สึกสดชื่น โดยสาดหตุหลักเกิดจากร่างการที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย รวมถึงสาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด และความวิตกกังวล อาการปวดต่างๆตามร่างกาย อาการนอนไม่หลับก็ยังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องปัญหาการทรงตัวและการหกล้ม เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ
การป้องกันและการดูแล
1 จัดห้องนอนให้มีบรรยากาศที่ช่วยให้หลับสบาย เช่น เงียบสงบ ใช้ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอนและผ้าห่มที่มีสีไม่ฉูดฉาด ปรับอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสม ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป
2 หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน และกากิจกรรมเบาๆทำ หากเพลียง่วงก็งีบได้บ้าง แต่ไม่ควรงีบหลังบ่าย 3
3 ออกกำลังกายให้ร่างกามีการตื่นตัวเเละหลับง่ายในตอนกลางคืน

ปัญหาการกลั้นการขับถ่ายไม่อยู่ ผู้สูงอายุจะเริ่มมีปัญหาในเรื่องของการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ เกิดได้จากหลายปัจจัย กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนหรืออ่อนล้า กระเพาะปัสสาวะอ่อนไหวเกินไป ความบกพร่องในการควบคุมการกลั้นการขับถ่ายที่เกิดจากสมองหรือเส้นประสาท การรับประทานยาบางชนิด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ภาวะท้องผูก ต่อมลูกหมากโต
การป้องกันและการดูแล
1 ปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและวิธีการแก้ไข เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
2 ฝึกการขมิบกล้ามเนื้อเนื้ออุ้งเชิงกรานวันละ 50-100 ครั้ง
3 ฝึกการกลั้นปัสสาวะโดยปัสสาวะเป็นเวลาและค่อยๆ ยืดเวลาระหว่างการปัสสาวะ เพื่อฝึกกระเพาะปัสสาวะให้สามารถกลั้นได้มากขึ้น

นอกเหนือจากปัญหาสุขภาพร่างกายที่พบในผู้สูงวัยแล้ว ก็ยังมีปัญหาในเรื่องสุขภาพจิต ก็สำคัญไม่แพ้กัน  “ผู้สูงอายุควรดูแลสภาพจิตใจตัวเองให้เบิกบาน ไม่เครียด ขณะเดียวกันสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลก็มีส่วนอย่างมากต่อการดำรงชีวิตที่มีความสุขของผู้สูงอายุ เพราะการดูแลเอาใจใส่ผู้ใหญ่ในบ้านด้วยความรัก ปฏิบัติต่อท่านอย่างนุ่มนวลอ่อนโยนคือหัวใจของการดูแลผู้สูงอายุอย่างแท้จริง”
การป้องกัน แก้ปัญหา เพื่อเตรียมรับมือกับผู้สูงอายุ
1 ดูแลสุขภาพตั้งเเต่อายุน้อยๆ
2 รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
3 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างถูกต้องและปลอดภัย เลือกเครื่องออกกำลังกายที่เน้นสร้างกล้ามเนื้อ เช่น เครื่องบริหารกล้ามเนื้อเฉพาะจุด

ASG wellness & Innovation ให้บริการอุปกรณ์ออกกำลังกายรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรม
เพื่อทำให้การออกกำลังกายมีความสะดวก ปลอดภัย และตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล

error: Content is protected !!