มะเร็งตัวร้าย ไม่มีอาการ ไม่ได้แปลว่า ปกติ มะเร็งป้องกันได้
สำหรับโรคมะเร็งนั้น ถ้าตรวจพบเจอตั้งแต่ระยะแรกก็จะทำการรักษาได้ง่ายกว่า และได้ผลดีกว่า การรักษามะเร็งที่ได้ผลดีที่สุดนั้น ควรทำการรักษาตั้งแต่ระยะต้นๆ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาส่วนมากก็คือในระยะแรก มะเร็งหลายชนิดจะไม่ปรากฏอาการใด ๆ ให้ทราบ และเมื่อตรวจพบ มะเร็งร้ายก็ถูกพัฒนาไปไกลแล้ว
ออกกำลังกาย สู้ มะเร็งตัวร้าย ไม่มีอาการ ไม่ได้แปลว่า ปกติ มะเร็งป้องกันได้
การออกกำลังกายมีประโยชน์สำหรับคนทั่วไป และมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีปัญหาในการเริ่มต้นการออกกำลังกาย เช่น กลัวว่าออกกำลังกายแล้วจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย รู้สึกอ่อนเพลียง่ายจึงไม่อยากออกกำลังกาย หรืออยากออกกำลังกายแต่ไม่ทราบว่าควรเริ่มต้นอย่างไร หากผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่าด้วยเรื่องของการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง จะทำให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการออกกำลังกายได้
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
โรคมะเร็วมีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย มีรายงานวิจัยพบว่า การออกกำลังกายช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจได้ ความอ้วน ความเครียด ก็ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมจึงเป็นส่วนช่วยคลายเครียด และลดการสะสมแคลอรี่ ในร่างกายอีกด้วย
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง มีจุดมุ่งหมายก็เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีการเคลื่อนไหวที่ใกล้เคียงกับการใช้ชีวิตปกติ บรรเทาอาการภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษา ซึ่งการรักษาโรคมะเร็งมีเป้าหมาย ในการจำกัดทำลายเซลล์มะเร็งด้วยวิธีการต่าง ๆ ประกอบด้วย การผ่าตัด การฉายรังสี และการเคมีบำบัด โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับการรักษามีผลกระทบต่อจิตใจและสังคมของผู้ป่วยซึ่ง การออกกำลังกายมีประโยชน์ในการลดภาวะข้างเคียงที่เกิดจากรักษาโรคมะเร็ง เช่น ภาวะอารมณ์แปรปรวน ลดความเครียด ความวิตกกังวล น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีปัญหาการนอนไม่หลับ และภาวะเหนื่อยล้า
ประโยชน์ ของการออกกำลังกายในการป้องกันโรคมะเร็ง
- ลดระดับอิซูลินในเลือด การออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยลดระดับอินซูลินในเลือด เป็นสารที่ทำให้เซลล์ในร่างกายของเราแบ่งตัวและเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และในผู้หญิงถ้ามีอินซูลินสูง ก็มีโอกาสจะเป็นมะเร็งเต้านมได้สูงกว่าคนอื่น
- ช่วยซ่อมแซมเม็ดเลือดขาว
- ช่วยลดปริมาณการหมุนเวียนของโฮรโมนเอสโตรเจน ซึ่งจะมีผลกับการเกิดมะเร็งเต้านม และการออกกำลังดายทำให้ระดับการหมุนเวียนของ โฮรโมนเอสโตรเจน ในร่างกายลดต่ำลง และฮอร์โมนเอสโตรเจนตัวนี้ถูกพบว่าเป็นตัวกระตุ้น และเพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ในผู้หญิงอีกด้วย
- ทำให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นและช่วยลดน้ำหนักได้ มีการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดต่างๆ
- ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ร่างกายสามาถขับของเสียได้ดี จึงช่วยป้องกันมะเร็งระบบทางเดินอาหารได้
ข้อแนะนำในการเลือก ออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ออกกำลังกายประเภทแอโรบิคในระดับปานกลาง (55-70 % ของอัตราชีพจรสูงสุด) เป็นเวลา 30 นาที ทุกวัน โดยอาจจะเลือกจากกิจกรรมที่ชื่นชอบ เข่น การเดิน การปั่นจักรยานแบบเอนปั่น เป็นต้น และการออกกำลังกายต้องไม่ส่งผลกระทบต่อตำแหน่งการเป็นโรคมะเร็ง ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายและเลือกใช้เครื่องออกกำลังกายที่เหมาะสม
โรคมะเร็งกับการออกกำลังกาย
ผลดีของการออกกำลังกายต่อ ผู้ป่วยโรคมะเร็งนอกเหนือจากการรักษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยคือมีผลต่อ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยพบว่าการออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลางมีผลทำให้เกิดการอักเสบและ การติดเชื้อลดลงทั้งในคนปกติ และในผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังการผ่าตัด แต่มีข้อสังเกตคือการออกกำลังกายที่หนักเกินไปอาจมีผลกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ ดังนั้นลักษณะโปรแกรมการออกกำลังกายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เลือกออกกำลังกายด้วยโปรแกรมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง และเครื่องออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ที่ต้องการ ฟื้นฟู บำบัด และเสริมสร้างกล้ามเนื้อสุขภาพให้แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต่อต้านโรคและยืดอายุการใช้ชีวิตได้นาน
จากการสืบค้นข้อมูลการวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจนถึงปัจจุบันพบว่า ยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่เฉพาะเจาะจงที่สามารถสรุปเกี่ยวกับวิธีการ ตลอดจนความถี่ ระยะเวลา และความหนักของการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับป้องกัน (แต่ควรเลือกการออกกำลังกาย ที่มีน้ำหนักไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เช่น เครื่องออกกำลังกายเทคโนโลยี “แรงต้านจากลม”) ส่งเสริมการรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยจากโรคมะเร็งเฉพาะอย่าง และในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาใดที่แสดงการเปรียบเทียบและชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายแบบใดเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งประเภทใดหรือเหมาะสำหรับ ระยะใดของโรคมะเร็ง หรือเหมาะสำหรับปฏิบัติในระหว่างการรักษาวิธีใด การ ศึกษาวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาผลการออกกำลังกายรูปแบบเดียวในกลุ่มผู้ป่วย มะเร็งประเภทเดียว เนื่องจากมีข้อจำกัดของการวิจัยหลายประการ อาทิเช่น จำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัย ระยะเวลาการวิจัย การดำเนินของโรคที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล เป็นต้น ดังนั้นบทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการวิจัยที่หลากหลาย เพื่อใช้ข้อมูลการศึกษาเหล่านี้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยซึ่ง เป็นหลักการโดยทั่วไป โดยแบ่งลักษณะการออกกำลังกายที่เกี่ยวเนื่องกับโรคมะเร็งเป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์และภาวะของผู้ออกกำลังกายซึ่งลักษณะรูปแบบการออกกำลังกาย ระยะเวลาและความหนักที่ใช้ในการออกกำลังกายมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม
การออกกำลังกายเพื่อป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเป็นโรคมะเร็ง
ใช้แนวทางเดียวกับการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยทั่วไปซึ่งมีหลักการคือ คนทั่วไปทุกคนควรมีการออกแรงกายในระดับปานกลาง และเลือก อุปกรณ์ที่เหมาะสมปลอดภัย เช่น การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ ด้วยเครื่องออกกำลังกายเทคโนโลยี จากกระบอกสูบไฮดรอลิก การเดินเร็วๆ อย่างน้อยวันละ 30 นาที **แต่ต้องระมัดระวัง เรื่องการหกล้ม อย่างไรก็ตามยังมีรายละเอียดที่ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคมะเร็งแต่ละชนิด โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเม็ดโลหิตขาว และมะเร็งปอดที่มีรายงานการวิจัยยืนยันดังนี้
รายงานการศึกษาย้อนหลังที่ติดตามผู้หญิงที่เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 25,624 คน อายุระหว่าง 20-54 ปีเป็นเวลาประมาณ 13 ปีพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างระดับของกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวออก แรง/ออกกำลังกายกับอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม และพบว่าอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่ำในกลุ่มผู้หญิงที่เริ่มออกกำลังกาย ตั้งแต่อายุต่ำกว่า 45 ปี อยู่ในช่วงก่อนถึงวัยหมดประจำเดือน และมีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 22.8 ซึ่งออกกำลังกายอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการออกกำลังกายกับการลดอัตรา เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม
ข้อ สรุปหลักการออกกำลังกายเพื่อป้องกันมะเร็งที่ได้จากงานวิจัยเหล่านี้คือ การมีกิจกรรมทางกาย หรือการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายเพื่อการป้องกันการเป็นโรคมะเร็งควร ปฏิบัติอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในระดับที่เทียบได้กับการเดินหรือ ปั่นจักรจักรยาน(ชนิดเอนปั่น) โดยรักษาระดับดัชนีมวลกายให้ต่ำกว่า 22.8 และโดยเฉพาะสำหรับการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมควรเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่อายุ น้อยกว่า 45 ปี ในระยะก่อนวัยหมดประจำเดือน การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากเน้นที่การเดินเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน ลักษณะการออกกำลังกายที่เหมาะสมเป็นเช่น ไร ดังนั้นจึงควรใช้หลักการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพสำหรับคนทั่วไปให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
เลือกทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ให้มาเป็นการออกกำลังกาย เช่น การปั่นจักรยานแบบเอนปั่น ที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย และ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และป้องกันปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆได้อีกด้วย