google-site-verification=AZYzOVBMoD50hYwO-aFXTfIkjYm89QkuL326hVK9ig0

การออกกำลังกายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

การออกกำลังกายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

ภาวะข้อสะโพกเสื่อมในเมืองไทยอาจจะพบได้น้อยกว่าชาวตะวันตก และสามารถพบได้ในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันคนอายุน้อยก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ก่อนวัยอันควร ซึ่งกลับมีจำนวนที่มากขึ้น โดยเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่นความผิดปกติของข้อสะโพกมาตั้งแต่กำเนิด , ข้อสะโพกหลุดตั้งแต่กำเนิด , คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ SLE , โรคไต , หูดับ , รูมาตอย , ผู้ที่ใช้สเตียรอยต่อเนื่องนาน ๆ , และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ หรือผู้สูงอายุที่ประสบอุบัติเหตุหกล้มข้อสะโพกหัก แต่สาเหตุหลักก็คือความเสื่อมของข้อสะโพก ซึ่งเกี่ยวกับอายุและการใช้งานของร่างกาย     

ประเทศไทยนั้น มีอุบัติการณ์ของการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมเทียมปีละกว่า 25,000 ราย ซึ่งสาเหตุมาจากโรคข้อสะโพกตายจากการขาดเลือด เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น อายุที่มากขึ้นทำให้กระดูกผิวข้อสึกกร่อน โรครูมาตอย สำหรับวัยกลางคนจากสถิติพบว่ามีปัญหากระดูกสะโพกเสื่อมได้เช่นกัน สาเหตุเนื่องมาจากดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือบางคนทานยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยปริมาณที่เกินกว่าร่างกายจะรับได้ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่ดีไม่สามารถเลี้ยงหัวกระดูกสะโพกซึ่งยื่นขึ้นไปด้านบนได้  โดยอาการจะเริ่มเจ็บบริเวณขาหนีบ  ปวดกว้างรอบข้อสะโพก ,รู้สึกข้อสะโพกหนืดในตอนเช้า,มีเสียงภายในข้อสะโพก, ข้อสะโพกติดขัด ถ้ายิ่งเสื่อมเป็นเวลานานแล้วด้วย ไม่ว่าเราจะยืน เดิน นอน หรือนั่งก็ปวดตลอดเวลา เพราะข้อสะโพกเป็นข้อหลักที่รับน้ำหนักของร่างกายเราที่มาจากลำตัว ก่อนจะกระจายน้ำหนักไปที่ขาทั้ง 2 ข้าง ข้อสะโพกติดแล้ว ขาทั้งสองข้างจะสั้นยาวไม่เท่ากัน หัวสะโพกจะเป็นเยอะจนกระทั่งยุบ ทำให้ขาข้างซ้ายขวาจะเกิดความไม่สมดุล     

ลักษณะข้อสะโพกเสื่อมแตกต่างจากสะโพกปกติ ดังนี้

การออกกำลังกายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก และการรักษาข้อสะโพกเสื่อมส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ซึ่งในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทั่วไปจะผ่าตัดจากด้านหลังหรือด้านข้างและต้องตัดกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกออก ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้องได้รับการฟื้นฟูระบบกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก แต่มีการผ่าตัดจากด้านหน้า และทำการแหวกกล้ามเนื้อ  เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ดีและขนาดบาดแผลเล็กลงและระยะฟื้นตัวเร็วขึ้น เมื่อทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแล้วก็ต้องรู้วิธีการปฏิบัติตัวทั้งข้อห้าม รวมถึงการเปลี่ยนท่าทางและการออกกำลังกายเสริมให้กล้ามเนื้อแข็งแรง  โดยการปฏิบัติตัวหลังผ่าเปลี่ยนข้อสะโพกในระยะ 3 เดือนแรก มีดังนี้  เพื่อป้องกันข้อสะโพกเทียมเคลื่อนที่หรือหลุด

  • ห้ามนอนตะแคงตัวทับข้างที่ผ่า ควรนอนตะแคงทับข้างที่ไม่ได้ผ่า 
  • ใช้หมอนแทรกระหว่างขาเวลานอนหลับตอนกลางคืน และปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งจนกว่าแพทย์จะอนุญาติให้หยุดใช้
  • ดูแลตัวเอง ป้องกันการล้ม โดยใช้ไม้เท้าหรืออุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน จนกว่าข้อสะโพกจะแข็งแรงพอและเคลื่อนไหวเองได้ดียิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการงอข้อสะโพกมากกว่า 90 องศา เช่นการนั่งยอง ๆ นั่งเตี้ยๆ หรือโน้มตัว ก้มเก็บของจากพื้น
  • หลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้ไม่มีที่วางแขน เพราะที่วางแขนจะช่วยเหลือได้ในขณะที่จะลุกขึ้นยืนหรือ เปลี่ยนอิริยาบถ
  • ห้ามบิดหมุนเท้าเข้าใน หรือออกนอกมากเกินไป เช่น การไขว้ขา การนั่งพับเพียบ การนั่งขัดสมาธิ
  • หลีกเลี่ยงการวิ่ง หรือ กระโดด เพราะทำให้ข้อสะโพกหลุดหลวม หรือแตกหักได้
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การดันสิ่งของ และการหมุนตัวอย่างแรง
  • หลีกเลี่ยงการก้มพร้อมกับทิ้งน้ำหนัก เช่น การปีนเขา หรือบันไดที่ชัน

การออกกำลังกายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

ในการออกกำลังกายช่วง 1 อาทิตย์แรกควรเป็นการออกกำลังแบบเบาๆ เน้นเกร็งกล้ามเนื้อและการฝึกเดิน ส่วนหลังจากนั้น  2-3 สัปดาห์ ให้เริ่มออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ และฝึกเดินแบบลงน้ำหนักเล็กน่อย และ ผู้ป่วยจะสามารถขับรถยนต์ และออกกำลังกายเบาๆได้หลังผ่าตัด 4 – 6 สัปดาห์ ทั้งนี้ ศัลยแพทย์จะเป็นผู้ดูแลและให้คำแนะนำที่เหมาะสมเป็นการเฉพาะผู้ป่วยแต่ละท่าน โดยท่าออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังเนื้อหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก หลัง 3 เดือนไปแล้วควรเพิ่มน้ำหนัก โดยถุงทราย ยางยืด (band) ดังนี้

  • กระดกปลายเท้าขึ้น – ลง (Pumping Exercise)  ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ
  • กล้ามเนื้อเหยียดสะโพก และต้นขาด้านหน้า นอนหงายขาทั้งสองวางราบกับพื้นโดยมีผ้าเล็กๆ รองใต้เข่า ออกแรงกดเข่าข้าง ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ
  • กล้ามเนื้อเหยียดสะโพก ยืนแล้วหาที่เกาะแล้วเตะขาไปข้างหลังทำ 10 ครั้ง 3 รอบ
  • กล้ามเนื้องอข้อสะโพก และงอเข่า ยืนแล้วงอเข่างอสะโพก  ระวังห้ามงอข้อสะโพกเกิน 90 องศา ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ
  • กล้ามเนื้องอสะโพกและกล้ามเนื้อเหยียดเข่า นอนหงายขาข้างหนึ่งชันเข่า ฝ่าเท้าแนบกับพื้น ส่วนขาที่ต้องการออกกำลังกายให้เข่าเหยียดตรง ยกขาขึ้นด้านบน แล้วกลับวางลงกับพื้นดังเดิม ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ
  • นอนตะแคงขาข้างที่ผ่าอยู่ด้านบน หมอนสอดระหว่างขาทั้งสองข้าง ยกขาด้านบนขึ้นพ้นพื้นในแนวดิ่ง ท่านี้ควรทำหลังผ่าตัดแล้วอย่างน้อย 2 เดือน และเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60 ปี ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ
  • กล้ามเนื้อกางขา   นอนหผงายขาวางไว้ในแนวสะโพก  กางขาออกไม่เกิน  45 องศา ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ
  • กล้ามเนื้องอเข่า นอนคว่ำ ขาทั้งสองวางราบกับพื้นงอเข่ายกเท้าพ้นพื้น ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ

การดูแลแผลหลังผ่าตัด

  • ห้ามแผลโดนน้ำ จนกว่าแพทย์จะอนุญาติข้อห้ามหลังผ่าตัด
  • ห้ามชันเข่าเกิน 90 องศา ห้ามหุบขา ห้ามนั่งไขว่ห้าง ห้ามนั่งยองๆ ห้ามนั่งกับพื้น หรือนั่งเก้าอี้เตี้ย
  • ห้ามก้ม หรือโน้มตัวมากเกินไป
  • ห้ามตะเเคงตัวทับข้าฝที่ผ่าตัด จนกว่าแพทย์จะอนุญาติ

การเตรียมอุปกรณ์ที่พักอาศัย

  • เตรียมพื้นที่ให้โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง
  • มีแสงสว่างเพียงพอ
  • วอกเกอร์หรืออุปกรณ์ช่วยเดินแบบ 4 ขา
  • ห้องน้ำที่มีชักโครก หรือที่คล่อมชักโครก
  • เตียงนอน หมอน สำหรับตะเเคงตัว

อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพยท์ก่อนกำหนด

  • แผลผ่าตัดอักเสบ บวม-แดง
  • มีเลือหรือน้ำเหลืองซึม มีไข้มีอาการปวด บวม บริเวณที่ผ่าตัดสะโพกผิดรูป

ปัจจัยเสี่ยงเกิดข้อสะโพกเสื่อมทั้งทางด้านร่างกายและพฤติกรรมการใช้ชีวิต

  • แผลผ่าตัดอักเสบ บวม-แดง
  • มีเลือหรือน้ำเหลืองซึม มีไข้มีอาการปวด บวม บริเวณที่ผ่าตัดสะโพกผิดรูป
  • อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักมากขึ้น จากทั้งการเกิดภาวะกระ ดูกพรุน และปัญหาในการทรงตัวที่ทำให้เกิดการล้มได้ง่าย
  • เพศ พบกระดูกสะโพกหักในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนสูงกว่าในผู้ชาย
  • มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น เบาหวาน เพราะส่งผลให้เกิดกระดูกพรุนได้ง่าย
  • ภาวะทุโภชนา กินอาหารไม่มีประโยชน์ หรือขาดอาหาร กระดูกจึงอ่อนแอ หักได้ง่าย
  • ไม่ได้ออกกำลังกาย จึงเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ใช้ต่อเนื่อง ที่ทำให้เกิดกระดูกพรุน เช่น ยาสเตียรอยด์
  • สูบบุหรี่ และ/หรือดื่มสุรา เพราะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้สูง
  • เรื่องของอายุและความเสื่อมของสุขภาพร่างกาย
  • มักพบบ่อยเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี 
  • ซึ่งรวมทั้ง เยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็นรอบข้อ
  • กระดูกอ่อน เริ่มสึกหรอ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ การเคลื่อนไหวข้อ มีอาการติดขัด ฝืด 

เครื่องออกกำลังกาย Multifunction เคลื่อนไหวได้ 4 ท่าทางในเครื่องเดียว

เป็นเครื่องออกกำลังกาย ได้ถึง 4 รูปแบบ บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง (Leg Press),บริหารกล้ามเนื้อส่วนบน (Dip / Shrug) และ ช่วยทำให้สควอท  (Assisted Squat)  ท่า Assisted Squat ช่วยบริหารกล้ามเนื้อเข่า สะโพห และน่อง
เหมาะสมกับ ผู้ที่ผ่าตัดเข่า เพื่อเพิ่มความแข็งเเรงของกล้ามเนื้อ ข้อ และกระดูกส่วนขา สะโพก และน่องที่ทำหน้าที่รักษาความมั่นคงให้กับร่างกาย

ASG wellness & Innovation ให้บริการอุปกรณ์ออกกำลังกายรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรม
เพื่อทำให้การออกกำลังกายมีความสะดวก ปลอดภัย และตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล

error: Content is protected !!