แก้อาการปวดถูกวิธีด้วย กายภาพบำบัด ช่วยฟื้นฟู ร่างกายให้เคลื่อนไหวได้ตามปกติ
แก้อาการปวดถูกวิธีด้วย กายภาพบำบัด ช่วยฟื้นฟู ร่างกายให้เคลื่อนไหวได้ตามปกติ “กายภาพบำบัด ทางเลือกที่ตอบโจทย์ในการบำบัดอาการ “ปวด” ทางเลือกที่หลายๆคนเลือก” กายภาพบำบัด คือ การดูแลสุขภาพ ที่มีปัจจัยในการทำ คือ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกาย โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดเช่น การออกกำลังกายเพื่อการรักษา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ต้องการได้รับการบำบัด มีสุขภาพและมีคยวามสามารถในการทำงานของร่างกายอย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันกายภาพบำบัดแบ่งออก ได้ดังนี้
- กายภาพบำบัดด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อติดเคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก, มีการปวดที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ, การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมหรือการบาดเจ็บจากการทำงาน, ผู้ป่วยกระดูกหักและหรือได้รับการผ่าตัด รวมถึงผู้ที่มีความพิการจากการสูญเสียอวัยวะ
เครื่องออกกำลังกายทางการบำบัด ที่สามารถฟื้นฟู สมรรถภาพร่างกายได้ถึง 4 ท่าทาง ในเครื่องเดียว บริหารป้องกัน รักษา กล้ามเนื้อส่วนบนและส่วนล่าง ที่มีเทคโนโลยี “แรงต้านจากลม” ที่จะปลอดภัยมากในผู้ที่มีปัญหาของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
- กายภาพบำบัด ด้านระบบประสาท ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวหรือผู้ที่มีปัญหาจากการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยอัมพาต, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว เช่น สมองพิการแต่กำเนิด, ผู้ป่วยพาร์กินสัน รวมถึงผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุที่ทำให้สมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
- กายภาพบำบัดด้านกีฬา เช่น การดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬาทั้งก่อนและหลังการแข่งขัน
นักกีฬาจะมีการออกกำลังกาย ก่อนแข่งขันเพื่อ เสริมสร้างความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และป้องกันอาการบาดเจ็บ และออกกำลังกดายหลังแข่งขัน เพื่อป้องกันและรักษา การออกกำลังกายโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย และปลอดภัย จะช่วยให้นักกีฬาได้ฟื้นตัวได้เร็วจากการบาดเจ็บและยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ปัญหายอดฮิต ที่ฟื้นฟูได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด
1.โรคในกลุ่มออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ ปวดเอว ปวดหลัง ปวดไหล่
2.กระดูกคอ กระดูกหลังเสื่อม เคลื่อน หัก คด จากสภาพการใช้งานหรือตามอายุ
3.เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบจากการใช้งานซ้ำ ๆ เดิม ๆ
4.ข้อติดจากการมีภาวะกระดูกหักต้องเข้าเฝือกนาน
5.อัมพฤกษ์ / อัมพาต
6.ปอดอักเสบ
ปัญหาการปวด ที่เกิดจากระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
กลุ่มอาการปวดคอ ปวดบ่อ (Neck pain)
– กลุ่มอาการปวดชาจากกระดูกคอเลื่อน (C-Spondylosis)
– กลุ่มอาการชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ (Nerve compression)
– กลุ่มอาการจากหมอนรองกระดูกเสื่อม (Spondylosis) / เคลื่อน (Herniated disc)
– กลุ่มอาการปวดชาจากกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondyl disthesis)
– กลุ่มอาการปวดหัวไหล่ (Shoulder pain), ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder)
– กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อข้อศอก (Tennis elbow, Gofer’s elbow)
– กลุ่มอาการปวดมือ, นิ้วมือ (CTS, Trigger finger)
– กลุ่มอาการปวดข้อเข่า (Knee pain, Osteoarthritis)
– กลุ่มอาการข้อเท้า, ส้นเท้า (Ankle sprain, Plantar fascialtis)
– กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน (Muscle sprain)
– กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)
– กลุ่มผู้ป่วยกระดูกหัก ใส่เฝือก / ดามเหล็ก (Fracture)
กลุ่มที่ควรรักษาด้วยกายภาพบำบัด
เริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายหรือความบกพร่องทางร่างกาย การทำกายภาพบำบัดจะช่วยลดความเจ็บปวดตามอวัยวะที่เกิดปัญหาให้น้อยลง และสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติหรือเกือบปกติ เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย รวมทั้งช่วยให้รู้จักวิธีป้องกันการได้รับบาดเจ็บอันเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวได้อีกด้วย
กลุ่ม Target ที่ควรรักษาด้วยกายภาพบำบัด เมื่อก่อนคนที่จะเข้ามารับการรักษาด้วยวิธีการกายภาพบำบัดนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเป็นหลัก แต่ด้วยยุคสมัยและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันกลับพบว่า กลุ่มคนในวัยทำงานก็เข้ารับการรักษากันมากขึ้นด้วยปัญหายอดฮิต อย่างปวดกล้ามเนื้อต้นคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง และปวดเอว ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสาเหตุหลักๆ มาจากการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ รวมถึงการใช้โทรศัพท์มือถือแบบเกินความจำเป็นนั่นเอง
เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ และหลังส่วนบน Optimal Rhomb เหมาะสำหรับกลุ่มวัยทำงาน ปวดกล้ามเนื้อต้นคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง และปวดเอว ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสาเหตุหลักๆ มาจากการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ด้วยการ บืด หล้ามเนื้อไหล่และคอ
การทำกายภาพบำบัด มีขั้นตอนอย่างไร
ผู้ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอาการปวดด้วยกายภาพบำบัดจะต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา โดยนักกายภาพบำบัดจะตรวจร่างกาย รวมถึงสอบถามอาการและกิจกรรมของผู้ป่วยในแต่ละวัน จากนั้นจะวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วย การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น รวมทั้งฟื้นฟูและเสริมสร้างความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทานของกล้ามเนื้อในร่างกาย เพื่อเพิ่มความสมดุลในการเคลื่อนไหว การทำกายภาพำบำบัดด้วยการออกกำลังกายยืดเส้น ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยฝึกการออกกำลังกายจนให้ผู้ป่วยสามารถทำเองได้ที่บ้าน หรืออาจใช้เครื่องออกกำลังกายทางการแพทย์ ช่วยบริหารกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนเพื่อให้ผู้ป่วยได้กลับมาเคลื่อนไหวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และต้องละขั้นตอนก็จะอยู่ภายใต้การแนะนำจากคุณหมอหรือผู้ช่วยอย่างใกล้ชิดซึ่งจะต้องทำอย่างถูกวิธี
ประเภทของกายภาพบำบัด
การออกกำลังกายด้วยเครื่องบริหารร่างกาย โดยทั่วไปแล้ว การทำกายภาพบำบัดมักเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดมีรูปแบบการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ อาการป่วย หรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมทั้งช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ การออกกำลังกายคือกิจกรรมที่เพิ่มเติมมาจากกิจกรรมทั่วไปที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทานของร่างกายและการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ อีกทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายในการทำกิจกรรมแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยที่ทำกายภาพบำบัดประกอบด้วย
ยืดกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงแข็งของข้อต่อ เพิ่มความแข็งแรงร่างกาย ออกกำลังกายที่ฝึกความสมดุลของร่างกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ท้อง หรือสะโพก
ยกน้ำหนัก เพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ออกกำลังกายรูปแบบอื่น การเดินหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ก็ช่วยเพิ่มสมรรถภาพการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง และความทนทานของร่างกาย
ผู้ป่วยที่ใช้งานวีลแชร์ (รถเข็นผู้ป่วย ก็สามารถออกกำลังกาย กายภาพบำบัด ฟื้นฟูได้)
เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ และหลังส่วนบน Optimal Rhomb Easy Access
เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ และหลังส่วนบน ท่านี้ช่วยคลายความตึงบริเวณหลังส่วนบนและหัวไหล่ ช่วยแก้อาการไหล่ห่อ หลังค่อม ปวดบ่า ไหล่ ที่มาจากสาเหตุความเครียด หรือการนั่งผิดท่าเป็นเวลา นาน ๆ โดยเครื่องออกกำลังกายสามารถใช้กับวีลแชร์ได้
ใส่ใจ ป้องกัน ก่อนลุกลามเกินรักษา
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าตนเองเริ่มมีอาการปวดเมื่อย ไม่ว่าจะเริ่มเป็นที่บริเวณใดของร่างกายก็ตาม ควรรีบหาวิธีการในการรักษาเยียวยา หรือทำกายภาพบำบัดให้อาการนั้นทุเลาลง เพราะหากปล่อยให้อาการปวดลุกลามและเรื้อรัง ก็อาจทำให้การรักษาหรือการทำกายภาพใดๆ มีความยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการรักษายาวนานยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องสังเกตและดูแลร่างกายให้ดีเพื่อเป็นการป้องกันเสียตั้งแต่เริ่มต้น