google-site-verification=AZYzOVBMoD50hYwO-aFXTfIkjYm89QkuL326hVK9ig0

อันตราย ภัยเงียบ จากความดันโลหิตสูง

อันตราย ภัยเงียบ จากความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพลำดับต้นของโลก โดยประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงถึง 7.5 ล้านคนและมีประชากรที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก  สถานการณ์ในประเทศไทยในปัจจุบัน โรคความดันโลหิตสูงยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญลำดับต้นๆ ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง ในปี 2552 พบว่า ประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคน เป็น 13 ล้านคนในปี 25571 และเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคนี้ จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุก ๆปี

โรคความดันโลหิตสูงถือเป็น “ภัยเงียบ” อีกโรคหนึ่ง เนื่องจากไม่มีอาการแสดงและมักไปตรวจพบที่โรงพยาบาลจากการมารักษาโรคอื่น ๆจนทำให้หลายคนต้องเสียชีวิต ซึ่งหากมีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นระยะเวลานานแล้วไม่ได้รับการรักษา จะแสดงอาการปวดศรีษะ ใจสั่น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย วิงเวียน สับสน หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ แล้วถ้าหากมีภาวะความดันโลหิตสูงแล้วไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ เป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ หลอดเลือดแดงในตาเสื่อม อาจทำให้มีเลือดออกที่จอตา จนทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัว หรือตาบอดได้ , โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากหัวใจทำงานหนักขึ้นจนทำให้ผนังหัวใจหนาตัว และถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดหัวใจโตและหัวใจวายในที่สุด , โรคหลอดเลือดสมอง เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ ตัน หรือแตก จนทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต , โรคไตเรื้อรัง เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ ทำให้เกิดไตวาย และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  โดยส่วนใหญ่ประมาณ 90-95% แพทย์จะตรวจไม่พบโรค หรือภาวะผิดปกติ รวมไปถึงต้นเหตุของความดันโลหิตสูง เรียกว่า “ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด” (Essential hypertension) ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากกรรมพันธุ์ และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน   ซึ่งพบว่าเมื่อมีประวัติในครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง โดยรุ่นลูกและรุ่นหลานจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง  ส่วนของพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันมักจะเกิดจากการรับประทานอาหารรสเค็ม รสจัด และอาหารขยะ (junk food)  โดยมักประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโซเดียมในปริมาณมาก เช่น น้ำอัดลม ของหวาน อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว ขนมปัง รวมถึงภาวะเครียด สูบบุหรี่ พักผ่อนน้อย เป็นต้น  ส่วนอีกประมาณ 5-10% แพทย์อาจตรวจพบโรค หรือภาวะผิดปกติ ได้แก่  โรคไต เช่น โรคไตเรื้อรัง กรวยไตอักเสบเรื้อรัง หน่วยไตอักเสบ โรคถุงน้ำไตชนิดหลายถุง , หลอดเลือดแดงไตตีบ (Renal artery stenosis) , หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ (Coarctation of aorta), เนื้องอกบางชนิดของต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง 

การวัดความดันโลหิตสูงคือ การวัดค่าความดันภายในหลอดเลือดแดงจากการไหลเวียนของ “เลือดแดง” ภายในร่างกาย  สามารถวินิจฉัยจากการวัดความดันเลือด โดยใช้ค่า 2 ตัว คือ มีความดันสูงสุดเมื่อหัวใจบีบตัว (Systolic Pressure หรือความดันซิสโทลิก “Sys” ) และความดันต่ำสุดเมื่อหัวใจคลายตัว (Diastolic Pressure หรือความดันไดแอสโทลิก”Dia” ) โดยความดันโลหิตปกติอยู่ที่ Sys/ Dia  คือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท  ส่วนที่แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องมีค่า Sys/ Dia  อยู่ที่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป จากค่ามาตรฐานของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association หรือ “ AHA”) ปี2017  โดยจะมีค่าตารางดังนี้ 

การรักษาและการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สามารถทำได้โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งการรับประทานอาหารและการพักผ่อนให้เพียงพอ รวมไปถึงการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงทั้งของร่างกายและหลอดเลือดเพื่อให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น มีดังนี้ 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสมทุกวัน เน้นผักและผลไม้ชนิดไม่หวาน และลดอาหารพวกไขมันชนิดอิ่มตัว แป้ง น้ำตาล ของหวาน
  • ลดปริมาณ เกลือโซเดียมที่บริโภคไม่ให้เกินวันละ 2.4 กรัม ( เทียบเท่าเกลือแกง 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา)
  • งดหรือลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ถ้าจำเป็นต้องดื่ม โดยผู้ชายให้ดื่มได้ไม่เกินวันละ 2 หน่วยต่อการดื่ม ซึ่งเทียบเท่ากับวิสกี้ 90 มิลลิลิตร ไวน์ 300 มิลลิลิตร หรือเบียร์ 720 มิลลิลิตร ส่วนผู้หญิงให้ดื่มได้ไม่เกิน 1 หน่วยต่อการดื่ม หรือดื่มในปริมาณน้อยแต่ไม่ควรเกิน 1-2 แก้วต่อวัน สัปดาห์ละไม่เกิน 5 วัน
  • งดการสูบบุหรี่
  • ดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 25 กก./ม.2  
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดภาวะเครียดที่เกิดขึ้น หันมาทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ ทำสมาธิ โยคะ รำมวยจีน ชี่กง ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำให้ได้เกือบทุกวัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ อย่างน้อยวันละ 30 นาทีและออกกำลังกาย 3-5วัน ต่อสัปดาห์
  • สำหรับผู้ได้รับประทานยา รักษาโรคความดัน ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์แนะนำ และพบแพทย์ตามนัด  ห้ามหยุดรับประทานยาหรือปรับปริมาณยาด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัย  และควรทราบชื่อและขนาดยาที่รับประทานอยู่ เนื่องจากยารักษาโรคความดันมีหลายชนิด
  • สำหรับครอบครัวที่มีประวัติว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง  บุคคลในครอบครัวอายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจสุขภาพซึ่งรวมถึงการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยทุก 2 ปี  หรือมีการตรวจสุขภาพประจำปีของคนภายในครอบครัว

ASG wellness & Innovation ให้บริการอุปกรณ์ออกกำลังกายรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรม
เพื่อทำให้การออกกำลังกายมีความสะดวก ปลอดภัย และตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล

error: Content is protected !!