6 สัญญาณเตือนข้อไหล่ติด ข้อไหล่ยึดในผู้สูงอายุ เช็คสัญญาณเตือนไหล่ติด ขยับไม่ได้ ในผู้สูงอายุ Frozen shoulder
ข้อไหล่ถือเป็นข้อต่อที่สำคัญของร่างกาย เป็นส่วนของร่างกายที่ช่วยในการ ทำกิจกรรมระหว่างวันได้ดี ภาวะข้อไหล่ติดที่ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เป็น มีอาการปวดไหล่และมีการขยับของหัวไหล่ลดลง และถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือไม่ได้บำบัดฟื้นฟู ก็จะเป็นมากขึ้นจนขยับได้น้อยลงจนขยับไม่ได้เลย พบได้ประมาณ 2-3 % ในช่วงอายุ 40-60 ปี และเกิดกับผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย
สาเหตุของข้อไหล่ติด
เกิดจากการที่ถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ข้อไหล่ เกิดการอักเสบ จึงมีการยึดติดและการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติจากหัวไหล่ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลง ติดขัดและมีอาการปวด หรือเกิดจากสาเหตุภายในข้อไหล่ เช่น เอ็นฉีกขาดถ้าต้องใช้หัวไหล่บ่อยและหักโดยที่ไม่สังเกต และคอยเช็คอาการ
- ยกแขนเพื่อสวมเสื้อผ่านทางศรีษะไม่ได้
- เอื้อมมือไปรูดซิปด้านหลังด้วยตนเองไม่ได้
- ผลักบานประตูหนักๆ ไม่ได้
- ยกแขนขึ้นสระผมลำบาก
- เอื้อมมือหยิบของจากที่สูงไม่ได้
- เอี้ยวตัวหยิบของจากด้านหลังไม่ได้
วิธีแนะนำ : คือให้พบนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจและประเมินอาการเพื่อวางแผนและให้แนวทางการรักษาตามระยะของโรค จะช่วยทำให้อาการเป็นปกติเร็วขึ้น
ท่าออกกำลังกายสำหรับโรคไหล่ติด
1. ท่าออกกำลังกายระยะปวด
1.1 ยืนดันขอบประตู
1.2 ยืนก้มตัวย่อเข่า
1.3 ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อข้อไหล่
1.4 ท่ายืดกล้ามเนื้อใหญ่ด้านหลัง
1.5 ท่ายืนคว่ำมือถือไม้เท้าทั้งสองข้าง
1.6 วางแขนข้างที่มีอาการปวดไว้บนโต๊ะ
2. ท่าออกกำลังกายระยะติดแข็ง
2.1 ยืนกางแขน แขนข้างที่เจ็บให้ศอกงอ 90 องศา
2.2. ยืนให้แขนข้างที่เจ็บไขว่ไปด้านหลังระดับสะโพก
2.3 ท่ายืนหันหน้าเข้าฝาผนัง
2.4 นั่งคว่ำหน้าเหยียบแขนบนโต๊ะ
2.5 ท่าดันแขนยกตัวขึ้น
2.6 ยืนดันศอกเข้ากำแพง
3. ท่าออกกำลังกายระยะฟื้นตัว
3.1 ออกทำลังกายสะบักด้วยยางยืด
3.2 ออกกำลังกายรอบสะบักด้วยยางยืด
3.3 ออกกำลังกายรอบสะบักด้วยลูกตุ้มถ่วงน้ำหนัก
การดูแลตัวเองที่บ้าน
– ประคบเย็น
– ประคบร้อน
– ออกกำลังกายข้อไหล่
– ยืดกล้ามเนื้อข้อไหล่
– ไม่นอนทับข้างที่มีอาการปวด
การรักษา
ปัจจุบันมีการรักษาได้หลายวิธีทั้งการใช้ยาต้านการอักเสบ การผ่าตัด หรือแม้แต่การรักษาด้วยกายภาพบำบัด ซึ้งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดและการขยับดัดดึงข้อไหล่ รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อรักษาช่วงการเคลื่อนไหว (Range of motion) อาการปวด เน้นลดอาการปวดโดยการทานยาลดปวด ลดอักเสบระยะข้อยึดติด เน้นเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว ท่าทางการบริหาร
เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ แขน หน้าอก และหลังส่วนบน Optimal Rhomb
ผลของการใช้ เครื่องบริหารกล้ามเนื้อส่วนบน ไหล่ แขน หน้าอก และหลังส่วนบน ช่วยลดอาการปวดตึงที่คอ บ่า ไหล่ ที่เกิดจากการใช้อริยาบทในท่าทางเดิมๆ
เช่น การปวดที่เกิดจาก โรคออฟฟิศซินโดรม
เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ แขน หน้าอก และหลังส่วนบน Optimal Rhomb
ประโยชน์
- ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวไหล่ บ่า คอ ให้เคลื่อนไหว ได้อย่างคงที่ และมีความแข็งแรง
- ลดอาการไหล่ห่อ หลังค่อม ปวดหลัง จากโรคออฟฟิศซินโดรม
- เพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อ ให้มีแรงในการหยิบจับสิ่งของ
วิธีการใช้เครื่องออกกำลังกาย
- ปรับเบาะนั่ง ขึ้นลง ตามความเหมาะสมของสรีระร่างกายของผู้ใช้งาน
- เลือกน้ำหนักแรงต้านบนหน้าจอดิจิตอล
- จับที่ด้ามจับทั้ง 2 ข้าง ให้แขนทั้ง 2 ขนานกับไหล่ ลักษณะการนั่งให้หน้าอกชิดเบาะ นั่งหลังตรง จากนั้นดึงแขนหนีบเข้าหาลำตัว
- หน้าจอแบบสัมผัส รุ่น HI5 ให้ความรู้สึกสัมผัสถึงความทันสมัย สีสันสดใส ทัชสกรีนลื่น
ขนาดหน้าจอแบบสัมผัส LED 10 นิ้ว พร้อมแสดงผลรายละเอียดของผู้ใช้ ,ท่าทางในการออกกำลังกายอย่างชัดเจน ,จำนวนครั้ง/รอบ
- เบาะนั่งปรับเปลี่ยนระดับ ขึ้นลง เลื่อนได้ ช่วยเพิ่มท่านั่งที่เหมาะสม
เบาะนั่งสามารถปรับเลื่อนได้ ทำให้ได้ท่านั่งที่ถูกต้อง และเหมาะสมในการออกกำลังกายของผู้ใช้งานที่มีสรีระร่างกายที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมและช่วยให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สามารถกำหนดแนวการเคลื่อนไหวของเครื่อง
กำหนดแนวการเคลื่อนไหวของเครื่องออกกำลังกาย ปรับล็อคเพื่อให้ได้ทิศทางที่เหมาะสมในการออกกำลังกายในแต่ละบุคคล ช่วยลดการบาดเจ็บซ้ำซ้อนในผู้ที่มีความต้องการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ
- มีด้ามจับสองลักษณะ สำหรับการบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่ และ กล้ามเนื้อหลังส่วนบน
เครื่องออกกำลังกายมีด้ามจับทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทำให้ง่ายต่อการหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการออกกำลังกาย เพื่อให้ได้ท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมและช่วยให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพ