สังคมผู้สูงอายุในไทย
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีอัตราประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และกำลังเผชิญปัญหาอัตราการเกิดที่น้อยลง ยุคเบบี้บูมเมอร์เข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างหลายประเทศยุโรป เช่น ฝรั่งเศส สวีเดน และแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในเอเชียที่เข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged Society) โดยมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในประเทศและผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ขณะเดียวกันประเทศเกาหลีใต้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์โดยมีสัดส่วนของประชากรอายุ60ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ14 ของประชากรทั้งประเทศ
ซึ่งทั้งสองประเทศได้มีมาตรการรับมือที่ประเทศเข้าสังคมผู้สูงอายุโดยรัฐบาลมีนโยบายที่แตกต่างกัน
ในขณะที่ประเทศไทยเติบโตเป็นอันดับ 3 ในทวีปเอเชียของอัตราประชากรสูงวัย รองมาจากประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่นโดยประเทศไทยนั้นได้เข้าใกล้สังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติได้คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2559 จำนวนผู้สูงอายุในไทยจะมีมากถึง 11.3 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 67.66 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรทั้งหมดและจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ. 2565 คาดการณ์ว่าประชากรวันทำงานจะลดลงในอีก 15 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยสมบูรณ์
ประเทศไทยเผชิญหน้ากับปัญหาจากสังคมผู้สูงอายุ เกิดจากหลากหลายปัจจัย เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาสุขภาพ โดยปัญหาในครอบครัวคือ ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง เนื่องจากปัจจุบันประชาการส่วนใหญ่เริ่มอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเดี่ยวและอยู่ห่างไกลบ้านที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ ร่วมถึงลูกหลานอยู่ในช่วงทำงาน จึงไม่มีเวลามาดูแลผู้สูงอายุในบ้านอย่างเต็มตัว จนทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งได้ ซึ่งส่งผลต่อปัญหาทางจิตใจ เนื่องจากผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระให้แก่ลูกหลาน น้อยใจ เหงา และ อาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า อีกปัญหาที่สำคัญคือปัญหาสุขภาพ เมื่อผู้สูงวัยมากขึ้นร่างกายจะมีความเสื่อมที่มากขึ้นตาม จึงทำให้จะต้องใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ควรกลับมาตระหนักถึงสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุที่มีการเสื่อมลงในทุกวัน จึงทำให้มีการสร้างเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ ทั้งอาหารเสริมและเครื่องออกกำลังกาย
**เพิ่มเติม
1. สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง ประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ
2. สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึง ประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ14 ของประชากรทั้งประเทศ
3. สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึง ประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศ