ออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูหลังผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า
พวกเรารู้จักการบาดเจ็บบริเวณเอ็นไขว้หน้าจากนักกีฬากันมามากแล้ว แต่เรายังไม่รู้หน้าที่ของเอ็นไขว้หน้ากันเลย ลองมาทำการรู้จักการทำงานของเอ็นไขว้หน้ากัน เอ็นไขว้หน้า (Anterior cruciate ligament ) หรือ ที่เรียกอย่างย่อทางการแพทย์ว่า “ACL” เป็นเอ็นที่อยู่ในข้อเข่าเพื่อทำให้หน้าที่ยึดกระดูกระหว่างกระดูกหน้าขา (Femur) และกระดูกหน้าหน้าแข้ง (Tibia) เพื่อทำหน้าที่สร้างความมั่นคงให้แก่ข้อเข่าและป้องกันไม่ให้กระดูกหน้าหน้าแข้ง (Tibia) เคลื่อนไปข้างหน้าหรือบิดหมุนของข้อเข่า
การบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุทางการกีฬา เนื่องจากระหว่างการแข่งหรือเล่นกีฬา นักกีฬาจะมีกระแทก หรือกระโดดแล้วเกิดการผิดท่าทาง จนทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณหัวเข่า และส่งผลต่อเอ็นไขว้หน้าในข้อเข่าฉีกขาด การบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าเกี่ยวกับกับประเภทกีฬาโดยประเภทกีฬาที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บมากที่สุด คือ ฟุตบอล , บาสเกตบอล และ วอลเลย์บอล จากสถิติพบว่าการบาดเจ็บเกิดในนักกีฬาหญิงมากกว่านักกีฬาชาย ถึง 2 เท่า
ขณะที่เอ็นไขว้หน้าได้รับบาดเจ็บจะเกิดจากการที่ข้อเข่า ถูกหมุนบิดทำให้เส้นเอ็นขาด บางทีขณะบิดเข่าอาจไปทำให้หมอนรองกระดูก (Meniscus) ของข้อเข่าฉีกขาดและส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วกว่าคนทั่วไป โดยระดับการบาดเจ็บของเส้นเอ็น มีอยู่ 3 อันดับ เรียกทางการแพทย์ กว่า ligament – ACLไม่รู้หน้าที่ของเอ็นไขว้หน้ากันเลย พวกเราลองมาทำการรู้จักการทำงานของเอ็นไขว้หน้ากัน
- เส้นเอ็นมีการฉีกขาดเล็กน้อยและอักเสบร่วมด้วย สามารถลงน้ำหนักได้และเดินได้ปกติ
- เส้นเอ็นมีการฉีกขาดบางส่วน มีบวม รู้สึกปวดภายในเข่าลึกๆ และรู้สึกข้อเข่าไม่มั่งคง
- เส้นเอ็นมีการฉีกขาดออกจากกัน ขณะที่ได้รับบาดเจ็บผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้ยินเสียง “ ป๊อก” ภายใน
ข้อเข่า ข้อเข่าจะบวม และไม่สามารถลงน้ำหนักได้ รู้สึกข้อเข่าหลวมอย่างเห็นได้ชัด ขั้นนี้ต้องได้รับการผ่าตัดทันที ส่วนของสาเหตุที่ทำให้เกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็นไขว้หน้า คือ กระโดด เนื่องจากขณะเวลาลงไม่มีงอเข่าเพื่อลดการกระแทกเข่าที่มากพอ นั้นจึงส่งผลให้เส้นเอ็นได้รับการบาดเจ็บ อีกสาเหตุหนึ่ง คือ เวลาเปลี่ยนทิศทางการเดิน เข่าจะบิดหมุนที่เร็วเกิดไป ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นได้
เมื่อได้รับการบาดเจ็บที่เอ็นไขว้หน้าระดับที่ได้รับความเสียหายขนาดฉีกขาดออกจากกัน ต้องทำการผ่าตัด โดยผ่าตัดส่องกล้องเข้าไปซ่อมแซมเส้นเอ็นจากเส้นเอ็นบริเวนอื่นได้ทั้งหมด 3 ที่ คือ เอ็นจากกล้ามเนื้อด้านหลังข้อเข่า (Hamstring tendons ), เอ็นลูกสะบ้า (Kneecap or patellar tendon) และ เอ็นจากคนอื่น (Allograft) หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดต้องได้รับการบำบัดจากนักกายภาพและออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ สามรถกลับมาเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมอย่างหนักได้ภายใน 1 ปี
ท่าทางการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อจะเริ่มได้เดือนที่ 6 เนื่องจากก่อนหน้านั้นต้องได้รับการบำบัดจากนักกายภาพบำบัด เพื่อลดการบาดเจ็บให้ข้อเข่ามีความมั่งคงและไม่มีอาการเจ็บขณะเดิน หรือเคลื่อนไหวข้อเข่า โดยท่าออกกำลังกายมี ดังนี้