ปวดคอ ปวดไหล่ สัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
ปวดคอ ปวดไหล่ สัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม หลายต่อหลายคนมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนมากเริ่มจากอาการปวดตามจุดต่างๆของร่างกาย โดยส่วนมากสำหรับวัยทำงาน จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณบ่า คอ ไหล่ ปวดตึงๆ มากกว่าบริเวณอื่นๆ เนื่องจากในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ท่าทางเดิมๆเป็นเวลานาน เช่น การนั่งทำงานเป็นเวลากว่า 10ชั่วโมง ก้มเล่นโทรศัพท์ โดยไม่เปลี่ยนท่าหรือยืดเส้นระหว่างวัน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึงบริเวณจุดดังกล่าว โดยการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึงเมื่อทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานสะสมให้ร่างกายเกิดอาการเมื่อยล้าสะสมเกิดการเจ็บปวด ส่งผลกระทบต่อร่างกายในเรื่องงานการทำงาน และส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงที่บ้าน ก็เกิดอาการเมื่อยล้าหมดแรงและเกิดอาการอ่อนเพลียไม่อยากทำอะไร และนอนหลับในที่สุด แต่เมื่อตื่นเช้ามาต้องไปทำงานอีก เกิดอาการสะสมทุกวัน จึงทำให้ร่างกายทำงานไม่เป็นปกติ
อาการปวดคอ ปวดไหล่ สัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
โดยอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณของโรคออฟฟิสซินโดรม ที่เมื่อบุคคลใดทำอะไรซ้ำๆ ในทท่าทางเดิมๆเป็นเวลานานในทุกๆวัน ร่างกายกล้ามเนื้อใช้งานในลักษณะที่ไม่มีการผ่อนคลายระหว่างวัน โดยบางรายเป็นสะสมมาเป็นระยะเวลานานแต่ไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้อง อาจทำให้ร่างกายเกิดการผิดปกติ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวัน โดยเมื่อสังเกตได้ว่าตัวเรานั้นมีอาการดังกล่ว เช่นการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดเนื้อปวดตัว ไม่สบาย มีอาการเจ็บเรื้อรัง ควรหาวิธีการแก้ไขโดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนอริยบท ในการใช้ชีวิต ตั้งแต่การนั่ง ทำงาน ลุกเดินยืดกล้ามเนื้อ เลือกวิธีการนั่งที่ถูกวิธี
หลีกเลี่ยง การจดจ่อในงานทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และนี่ก็เป็นวิธีเบื้องต้นที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ง่ายๆ โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำกระตุ้นกล้ามเนื้อให้พร้อมในการทำงาน หรือการออกกำลังกาย การเดิน วิ่ง การเหวี่ยงแขน ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ได้ยากและทำได้ตลอดเวลา และไม่ทำให้เกิดอาการเพลียระหว่างวันอีกด้วย แต่เมื่อเราถึงที่ทำงานคนส่วนมากมักจะเริ่มการทำงานก่อนเลย ทำให้ไม่มีการกระตุ้นร่างกาย เกิดอาการตึงของกล้ามเนื้อส่งผลให้เกิดอาการปวดตามบริเวณไหล่ บ่า หลังและเมื่อสะสมนานเท่าไรก็เกิดปัญหาเป็นโรคออฟฟิสซินโดรมตามมาได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งเป็นผลดีกับตัวของเราเมื่อเรามีสุขภาพที่ดี เราก็จะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้คล่องตัว และมีความสุข และหากเราใช้ร่างกายหนักมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายเสื่อม สึกหรอ และไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นเรื่องสุขภาพจึงควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เคล็ดลับการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม
- ออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อส่วน ไหล่ หลัง อย่างสม่ำเสมอ
- ระวังเรื่องท่าทาง อย่าไหล่ห่อ อย่านั่งหลังค่อม
- ยกของจากพื้นควรระวัง ใช้ท่าทางที่เหามะสม และการใช้ท่าทางที่ถูกต้อง
- เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย อย่าฝืนร่างกาย
- การระวังเรื่องความเครียด การตึงของกล้ามเนื้อ
ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้นด้วยตัวเอง
สิ่งที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ เพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม สำหรับชาวออฟฟิศ ก็คือ สำรวจพฤติกรรมการทำงานของตัวเอง ตั้งแต่การนั่ง แล้วปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรม และอิริยาบถในการทำงานให้ถูกต้อง รวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น ปรับความสูงของโต๊ะทำงาน และเก้าอี้ให้เหมาะสม หรือเก้าอี้ที่ถูกหลัก รวมไปถึงการเสริมสร้างสุขภาพใจ และกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และบริหารกล้ามเนื้อต้นคอ บ่า ไหล่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหลายๆ คนอาจไม่มีเวลาที่จะไปออกกำลังกายอย่างจริงจัง
ท่าบริหารต้นคอ แก้อาการออฟฟิศซินโดรม
เริ่มจากการจับด้ามอุปกรณ์ ให้ข้อศอกอยู่ระดับปักหลัง ปรับระดับเบาะนั่งให้เหมาสมะกับความสูงของร่างกายผู้เล่น ปรับระดับเเรงต้านน้ำหนักผ่านหน้าจอดิจิตอล จากนั้นดึงด้ามจับเข้าหาตัวเอง ข้อดีของอุปกรณ์จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อให้ถูกจุด เเละเสริมสร้างกล้ามเนื้อคอให้แข็งเเรง
ท่าบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่ แก้อาการออฟฟิศซินโดรม
ยกไหล่ขึ้นไปจนสุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10 จากนั้นกดไหล่ลงไปให้สุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1-10 ท่านี้สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องของการปวดไหล่เป็นประจำ
ท่าบริหารผ่อนคลายกล้ามเนื้อแขน แก้อาการออฟฟิศซินโดรม
ท่าที่ 1 เพื่อยืดแขน โดยประสานมือ จากนั้นจึงเหยียดขึ้นไปเหนือหัวเราจนสุดแขน การทำแบบนี้จะทำให้กล้ามเนื้อแขนได้ยืดออก แล้วให้เงยหน้ามองขึ้นด้านบน เพื่อเปลี่ยนท่าทางของช่วงคอ ค้างท่านี้ไว้นับ 1-10 แล้วจึงค่อยเอาลง
ท่าที่ 2 เพื่อคลายความเมื่อล้าของกล้ามเนื้อแขน ใช้มือซ้ายจับฝ่ามือขวา จากนั้นเหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้า แล้วจึงดัดข้อมือขวาเข้าหาตัว จนรู้สึกว่าตึงบริเวณด้านในข้อศอกขวา ทำค้างไว้นับ 1-10 แล้วจึงเปลี่ยนข้าง
ท่าบริหารนิ้ว และฝ่ามือ แก้อาการออฟฟิศซินโดรม
เป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายอาการเมื่อยล้าที่นิ้ว และฝ่ามือ กำมือทั้ง 2 ข้างให้แน่นที่สุด แล้วกำมือค้างไว้นับ 1-5 จากนั้นจึงค่อยๆคลายออกช้าๆ เหยียดนิ้วและกางนิ้วมือออกให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ แล้วค้างไว้นับ 1-5 แล้วจึงกลับมาอยู่ท่าเดิม ทำแบบนี้เรื่อยๆ ประมาณ 2 – 3 รอบ
ท่าบริหารกล้ามเนื้อด้านหน้าอก แก้ปัญหาไหล่ห่อ และแก้อาการออฟฟิศซินโดรม
ท่าที่ 1 ให้ลุกขึ้นยืน จากนั้นนำมือประสานกันด้านหลัง ค่อยๆ ยกขึ้นมาจนถึงระดับที่เรารู้สึกว่าตึง นับ 1-10
ท่าที่ 2 เป็นการยืดด้านหลัง โดยการกอดตัวเองให้แน่นที่สุด ให้มือไขว้กันเยอะที่สุด โดยเอามือโอบด้านหลังของตัวเองให้มากที่สุด นับ 1-10
ท่าบริหารหลัง แก้อาการออฟฟิศซินโดรม
ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ ประสานมือเอาไว้ แล้วค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลังจนรู้สึกตึงแล้วนับ 1-10
ท่าบริหารบริเวณช่วงสะโพก แก้อาการออฟฟิศซินโดรม
ท่านี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ซึ่งมักจะไปกดทับเส้นประสาททำให้รู้สึกมีปัญหา ปวดบริเวณสะโพก ชาลงขา และเท้า ทำโดยยกเท้าซ้ายขึ้นมาวางทับเหนือเข่าขวา จากนั้นเอนตัวมาด้านหน้า จะรู้สึกตึงบริเวณต้นขาด้านซ้าย นับ 1-10 จากนั้นสลับเท้าด้านขวาทำเช่นเดียวกัน
ท่าบริหารกล้ามเนื้อด้านข้าง แก้อาการออฟฟิศซินโดรม
ยืดมือขึ้นบนสุดประกบกัน จากนั้นเอนตัวทางด้านซ้าย นับ 1 -10 จากนั้นเอนตัวมาด้านขวา นับ 1-10
ท่าบริหารขา แก้อาการออฟฟิศซินโดรม
เหมาะสำหรับผู้ที่ยืนนานๆ หรือใส่รองเท้าส้นสูง ไขว้ขาซ้ายเข้ากับขาขวา จากนั้นค่อยๆ ก้ม เอามือไปแตะหน้าขา นับ 1-10