
ผลกระทบของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ (The impacts of falls on older adults)
การพลัดตกหกล้มเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บและการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ อีกทั้งปัจจุบันมีสัดส่วนของจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การป้องกันการพลัดตกหกล้มจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงต้องทำความเข้าใจถึงผลกระทบของการพลัดตกหกล้ม และความสำคัญของแนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ซึ่งมีสถิติมากมายเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม เช่น
ปัญจำนวนของการพลัดตกหกล้ม : 1 ใน 4 ของชาวอเมริกันอายุ 65 ปีขึ้นไปหนึ่งในสี่ล้มลงทุกปี
แหล่งที่มา: Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
ความถี่ในการพลัดตกหกล้ม : ทุกๆ 11 วินาที มีผู้สูงอายุเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน เนื่อง จากได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม
แหล่งที่มา : National Council on Aging (NCOA)
อัตราการเสียชีวิต:มีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มทุกๆ 19 นาที
แหล่งที่มา: National Council on Aging (NCOA)
การเข้ารับการรักษาห้องฉุกเฉิน : ในแต่ละปีมีผู้สูงอายุจำนวน 3 ล้านคน เข้ารับการรักษา ในแผนกฉุกเฉิน เนื่องจากได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม
แหล่งที่มา: Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล : ในแต่ละปีมีผู้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมากกว่า 800,000 ราย เนื่องจากการพลัดตกหกล้ม โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือกระดูกสะโพกหัก
แหล่งที่มา: Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาเมื่อเกิดการพลัดตกหกล้ม : การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุทำให้ ระบบการดูแลสุขภาพของสหรัฐฯ สูญเสียเงินกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี
แหล่งที่มา:Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
สถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงอัตราการพลัดตกหกล้ม และผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายหรือการเงินสำหรับการดูแลรักษาเมื่อเกิดการพลัดตกหกล้ม ในบทความนี้จะเจาะลึกถึงผลที่ตามมาของการพลัดตกหกล้ม และทำไมการป้องกันการพลัดตกหกล้มจึงมีความจำเป็นและสำคัญ
ต้องการความช่วยเหลือลดการพลัดตกหกล้มหรือไม่?

ผลกระทบจากการพลัดตกหกล้ม
การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุอาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกาย จิตใจ และการเงิน
ผลกระทบต่อร่างกาย
เกิดการบาดเจ็บ : อาการบาดเจ็บที่พบบ่อย ได้แก่ กระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพก ข้อมือ และข้อเท้า บาดแผลที่ศีรษะ และบาดแผลฉีกขาด สถิติพบว่าสาเหตุของกระดูกสะโพกหักประมาณ 95% เกิดจากการพลัดตกหกล้ม ซึ่งมักต้องผ่าตัดและฟื้นฟูร่างกายเป็นเวลานาน
เกิดความพิการ: การพลัดตกหกล้มอาจส่งผลให้เกิดความพิการในระยะยาว ทำให้ความสามารถ ในการทำกิจกรรมประจำวันลดลง ใช้ชีวิตอย่างขาดอิสระในการเคลื่อนไหว ส่งผลให้สุขภาพทรุด ลง และต้องพึ่งพาผู้ดูแลมากขึ้น
ผลกระทบทางจิตใจ
กลัวการพลัดตกล้ม : ผู้ที่เคยมีประวัติการพลัดตกหกล้มมาแล้ว จะมีความกลัวว่าจะเกิดการพลัดตกหกล้มซ้ำอีกครั้ง ทำให้ไม่กล้าเคลื่อนไหว มีกิจกรรมทางกายลดลง และแยกตัวออกจากสังคม ความกลัวนี้ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง สมรรถภาพร่างกายลดลง และนำไปสู่การเนือยนิ่ง และส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม
ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล : ผลกระทบทางอารมณ์จากการพลัดตกหกล้ม อาจนำไปสู่ ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล ส่งผลต่อความเป็นอยู่ และสุขภาพโดยรวม อีกด้วย
ผลกระทบด้านการเงิน
ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ : ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทันทีเมื่อเข้าโรงพยาบาล ได้แก่ ค่าเตียงนอนในโรงพยาบาล, ค่าผ่าตัด, ค่าห้องฉุกเฉิน และค่ารักษาพยาบาล ซึ่งค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เฉลี่ยของโรงพยาบาลสำหรับการบาดเจ็บจากการหกล้มอาจมากกว่า 30,000 ดอลลาร์ และค่าใช้จ่ายสำหรับการได้รับบาดเจ็บร้ายแรง เช่น กระดูกสะโพกหักจะสูงกว่านี้มาก
ค่ารักษาดูแลระยะยาว : ผู้สูงอายุจำนวนมากจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาระยะยาว ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือ หรือคนดูแลในการใช้ชีวิตหลังจากเกิดการพลัดตกหกล้ม ซึ่งเพิ่มภาระทางการ เงินให้กับตนเอง และครอบครัว
ค่าใช้จ่ายทางอ้อม : ค่าจ้างผู้ดูแล, การดัดแปลงบ้าน/ที่พักอาศัยให้เหมาะสม และมีความปลอด ภัยมากขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ และการเรียกร้องค่าสิน ไหมทดแทนจากประกัน
ทำไม? การป้องกันการพลัดตกหกล้มจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การป้องกันการพลัดตกหกล้มเป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้สูงอายุ เพื่อลดภาวะพึ่งพิง ใช้ชีวิตอย่างอิสระ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว และนี่คือเหตุผลว่าทำไม? ควรให้ความสำคัญต่อการป้องกันการพลัดตกหกล้มมากที่สุด
ลดต้นทุนด้านค่ารักษาพยาบาล
ลดภาระทางเศรษฐกิจ : การป้องกันการพลัดตกหกล้ม สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ ได้อย่างมาก และลดภาระทางการเงินของผู้สูงอายุ ครอบครัว และระบบสาธารณสุขของประเทศ
การจัดสรรทรัพยากร : การลดปัญหาการพลัดตกหกล้ม สามารถลดทรัพยากรที่ใช้ในการดูแลสุขภาพ ทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรสำหรับปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ ได้ดีขึ้น
การยกระดับคุณภาพชีวิต
ใช้ชีวิตช่วงสูงวัยได้อย่างอิสระ: เมื่อมีการป้องกันการพลัดตกหกล้ม จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวล้ม
สุขภาพจิตที่ดีขึ้น : การลดความกลัวในการล้ม และส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สามารถเสริมสร้าง สุขภาพทางด้านจิตใจ ลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล
ส่งเสริมการมีอายุยืนยาว
ป้องกันการบาดเจ็บ : การหลีกเลี่ยงการพลัดตกหกล้ม และลดอาการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างยืนยาว และช่วยส่งผลทางด้านสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุได้
เพิ่มการขยับเคลื่อนไหว : ป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยการเพิ่มหรือรักษาระดับกิจกรรมทางกาย จะช่วยให้การเคลื่อนไหวและการทำงานของร่างกายดีขึ้น ทำให้มีชีวิตยืนยาวและสุขภาพ แข็งแรงขึ้น
วิธีการลดความเสี่ยงของการพลัดตกหกล้มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การป้องกันการพลัดตกหกล้มให้มีประสิทธิภาพ ต้องเกิดจากหลายๆปัจจัยร่วมกัน ซึ่งวิธีการต่อไปนี้ คือวิธีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถลดความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ฝึกการทรงตัว (Balance Training) และการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength Training) : ฝึกการทรงตัวด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น ไทชิ โยคะ เป็นต้น และเสริม สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยการฝึกและออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (Resistance Training) จะส่งผลให้การทรงตัวดีขึ้น มีความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากขึ้น และลดความเสี่ยงในการพลัดหกล้ม
กิจกรรมทางกาย : การส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยรักษาความสามารถในการเคลื่อนไหว และความแข็งแรงของร่างกาย
การจัดการยาที่รับประทาน
การตรวจสอบยา : สอบถามเกี่ยวกับยาที่รับประทานเป็นประจำกับผู้ให้บริการด้านการแพทย์ เพื่อระบุยาที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม เนื่องจากผลข้างเคียง เช่น อาการวิงเวียน ศีรษะ หรืออาการง่วงนอน
การปรับขนาดยา : การปรับขนาดยา หรือเปลี่ยนยาสามารถบรรเทาผลข้างเคียงเหล่านี้ และลด ความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มได้
การตรวจสายตาและการได้ยิน
การตรวจคัดกรองเป็นประจำ : การตรวจสายตาและการได้ยินเป็นประจำ สามารถระบุปัญหา ที่อาจทำให้เกิดการพลัดตกหกล้มได้
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น: การใช้แว่นตา เครื่องช่วยฟัง หรือการผ่าตัดแก้ไข เช่น การผ่าตัดต้อกระ จก สามารถช่วยเพิ่มการรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการทรงตัวได้
การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในบ้านให้มีความปลอดภัย
นำสิ่งกีดขวางออก : จัดพื้นและสิ่งของให้เป็นระเบียบ จัดเก็บพรมให้เรียบร้อย และตรวจดูให้ แน่ใจว่าสายไฟไม่เกะกะ จะช่วยป้องกันการสะดุดซึ่งเป็นสาเหตุของการพลัดตกหกล้มได้
การเพิ่มแสงสว่าง : การมีแสงสว่างที่เพียงพอทั่วทั้งบ้าน รวมถึงไฟกลางคืนในทางเดินและ ห้องน้ำ สามารถช่วยป้องกันการพลัดตกหกล้มได้
การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย : เช่น ราวจับในห้องน้ำ ราวบันได และแผ่นกันลื่นเพื่อ ป้องกันการลื่นและการพลัดตกหกล้ม
บทบาทของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ
ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการพลัดตกหกล้มล้ม ดังนี้
ประเมินความเสี่ยง : ประเมินสุขภาพและสมรรถภาพทางกายอย่างครบถ้วนเพื่อระบุ บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะพลัดตกหกล้ม
ให้คำแนะนำ : แนะนำการฝึกและออกกำลังกายที่เหมาะสม การปรับยา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมภายในบ้าน
การให้ความรู้ : จัดกิจกรรมหรือช่องทางการเรียนรู้ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ดูแล ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรง ซึ่งส่งผลกระทบทางด้านร่างกาย จิตใจ และการเงิน
การพลัดตกหกล้มที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งส่งผลร้ายแรง ทำให้จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการป้องกันที่มี ประสิทธิภาพ โดยการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยง การนำวิธีการป้องกันมาใช้ และการเสริมสร้างความรู้ จะช่วยลดอัตราการเกิดการพลัดตกหกล้มและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้
การป้องกันการพลัดตกหกล้มไม่ได้หมายความถึงการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บเท่านั้น แต่ยังรวมถึง การใช้ชีวิตอย่างอิสระ และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุด้วย
ที่มา : https://hurusa.com/why-falls-matter-impact-of-falls-older-adults/