ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ Urinary Incontinence
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุมักเกิดในอายุที่มีมากกว่า 65 ปีพบว่าเกิดในผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า มีหลายสาเหตุ เริ่มจากการเสื่อมของสรีระร่างกายเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเกิดการเสื่อมของกล้ามเนื้อหูรูดเกิดการคลายตัวมากขึ้น การกักเก็บน้ำปัสสาวะในกระเพราะปัสสาวะลดลง กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะทำงานได้ลดลง และ ทางเดินท่อปัสสาวะแคบลงจาการถูกกีดขวางโดยเฉพาะในเพศชาย รวมไปถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจล้มเหลว และผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ(Diuretics drugs) ยาลดความดันโลหิต (Calcium channel blocker drugs) ยารักษาอาการจิตเวช (Psychotic drugs) และ ยาระงับความเจ็บปวด (Opioid analgesics) ฯลฯ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่สามารถแบ่ง ประเภท 2 แบบ ดังนี้
1. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบชั่วคราว (transient urinary incontinence) พบบ่อยมากที่สุดในผู้สูงอายุ สามารถป้องกันการเกิดภาวะและรักษาให้หายได้ โดยมีหลักการประเมินที่สำคัญ คือ DIAPPERS
1. D = delirium ภาวะสับสนซึ่งผู้สูงอายุจะ สูญเสียการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
2. I = infection of urinary tract การติดเชื้อ ในทางเดินปัสสาวะหรือติดเชื้อในระบบร่างกายอื่น ๆ
3. A = atrophic vaginitis/urethritis การอักเสบของท่อปัสสาวะหรือช่องคลอดแห้งจากการขาด
ฮอร์โมนเพศหญิง
4. P = pharmacological agents/drug ผลจากยาหรือแอลกอฮอล์ เช่น ยาลดความดันโลหิต
5. P = psychological factors ปัญหาทางจิตเวช
6. E = endocrine disorder ความผิดปกติของ ต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน
7. R = restricted mobility การจำกัดการเคลื่อนไหวจากตัวผู้สูงอายุเอง หรือ หลังการผ่าตัด
8. S = stool impact ปัญหาท้องผูกหรืออุจจาระที่อัดแน่นจะกด ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
2. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบเรื้อรัง (chronic urinary incontinence) มีอาการผิดปกติมาเป็นเดือนหรือเป็นปีซึ่งสามารถแบ่ง ออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. Stress incontinence มีอาการปัสสาวะเล็ดขณะที่ไอ จาม หัวเราะ ออกกำลังกาย หรือยกของ โดยปัสสาวะราดปริมาณเล็กน้อย ประมาณ 5 – 10มิลลิลิตรต่อครั้ง เนื่องจากมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ไปดันกระเพราะปัสสาวะไว้จนทำให้ ความดันในกระเพราะปัสสาวะสูงกว่าท่อทางเดินปัสสาวะ จึงทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดออกมา ส่วนใหญ่พบในเพศหญิง เนื่องจากหย่อนของกระเพราะปัสสาวะ กล้ามเนื้อหูรูด และกล้ามเนื้อเชิงกราน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ การผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน ผ่าตัดมดลูก ผ่าตัดต่อมลูกหมาก ผ่านการคลอดบุตรทางช่องคลอด รวมถึงสตรีในวัยหมดประจำเดือน
2. Urge incontinence เกิดจากกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะ (detrusor muscle) มีการบีบตัวที่รุนแรงกว่าปกติหรือมีการบีบตัวในขณะปริมาณปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะไม่เพียงพอ เนื่องมาจากปัญหาจากระบบประสาทส่วนกลาง เช่น โรคเบาหวาน (diabetes neuropathy) , โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ทำให้สัญญาณประสาทที่ส่งลงมายับยั้งปัสสาวะ (micturition reflex) ในไขสันหลังมีปริมาณน้อยลง พยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน เช่น การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือภาวะผนังช่องคลอดบางและอักเสบ(atrophic vaginitis) ช่องคลอดแห้งที่เกิดขึ้นจากภาวะพร่องเอสโตรเจนจะทำ ให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินปัสสาวะที่อยู่ข้างเคียงและทำ ให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากกว่าปกติ
3 Overflow incontinence เกิดจากสูญเสียความสามารถในการยืดขยายของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ เพื่อรองรับการบรรจุปัสสาวะ จนทำให้เกิดการล้นของปัสสาวะออกมา จนทำให้ผู้ที่มีอาการรู้สึกว่าปัสสาวะเล็ดออกมาตลอดเวลา ปัสสาวะสะดุดติดขัดไม่ค่อยออก ต้องเบ่งขณะปัสสาวะและมีปัสสาวะค้าง บางครั้งมีอาการคล้ายกับ Stress incontinence ซึ่งมาจากสาเหตุการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือการทำงานของกระเพาะปัสสาวะน้อยลง เช่น เบาหวาน
4. Functional incontinence เกิดจากความผิดปกติที่ควบคุมการถ่ายปัสสาวะ โดยเกิดจากพยาธิสภาพของปัญหาทางสติปัญญา(cognition) เช่น ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s disease) และ โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) หรือ ผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว (mobility) เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม แม้กระทั้งผู้ป่วยทางจิตหรือผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าทำให้ไม่สนใจดูแลตนเอง