ทำไมการออกกำลังกายแบบเวท เทรนนิ่ง (Weight Training) หรือเรียกอีกชื่อได้ว่าการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (Resistance Training) เหมาะกับการรักษาเบาหวานชนิดที่ 2
การออกกำลังกายแบบเวท เทรนนิ่ง ที่เน้นการสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะเมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงจะช่วยเผาผลาญน้ำตาลส่วนเกิน โดยคนเรานั้นเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อจะค่อยๆ ลดลงเฉลี่ยประมาณ 3-8 % ทุก 10 ปี 2 เมื่อกล้ามเนื้อลด การเผาผลาญก็ลด การใช้พลังงานในแต่ละวันของร่างกายก็น้อยลงไปด้วย ในขณะที่การกินอาหารยังเหมือนเดิม โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต แป้ง น้ำตาล ร่างกายเผาผลาญได้ไม่หมด จึงเหลืออยู่ในกระแสเลือดและสะสมเป็นไขมัน ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและตามมาด้วยปัญหาสุขภาพต่างๆ รวมทั้งโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั่นเอง
โรคเบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ทำงานผิดปกติไป โดยเบาหวานนั้น
มีหลายประเภท ซึ่งที่พบบ่อยที่สุดคือชนิดที่ 2 สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากกรรมพันธุ์และการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารประเภทแป้ง ของหวานมากเกินไป ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วนลงพุง โรคอ้วน การขยับร่างกายที่น้อยลง ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น
วิธีการรักษาของโรคเบาหวาน ณ ปัจจุบันนี้มีการรักษาที่ได้ผลชัดเจนก็คือการรักษาร่วมกันหลายทางดังนี้
•การทานยาหรือฉีดอินซูลิน ซึ่งจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มทำการรักษา
•การควบคุมอาหาร เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารประเภทไขมัน แป้ง น้ำตาลสูง
•การอออกกำลังกาย จากงานวิจัยนั้นพบว่า การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง หรือ การออกกำลังกายแบบมีีแรงต้านนั้นส่งผลดีกับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2
บทบาทของการฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ผลการศึกษาพบว่าออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง จำนวน 2-3 วัน/สัปดาห์ โดยกำหนดตารางสำหรับกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนสลับกันไปในแต่ละวัน ไม่ควรออกกำลังกายที่กล้ามเนื้อชุดเดิมติดกันเพื่อให้กล้ามเนื้อได้มีเวลาฟื้นฟู ช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มความสามารถในการใช้อินซูลินและเผาผลาญน้ำตาลเพราะ
•การออกกำลังกายแบบเพื่อเพิ่มความทนทานและความแข็งแรงนั้นเป็นปัจจัยหลักในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องด้วยกล้ามเนื้อลายเป็นส่วนหลักที่ใช้พลังงานจากการเผาผลาญของน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ จึงทำให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานเร็วขึ้น เมื่อพลังงานถูกนำไปใช้มากขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้
•เพิ่มขนาดของมวลกล้่ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อมีมากขึ้นร่างกายจะนำน้ำตาลไปเก็บที่เซลล์กล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลังงานได้มากขึ้น ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง และเพิ่มการขนส่งกระแสประสาทของกล้ามเนื้อต่างๆ ทั้งร่างกาย
•การออกกำลังกายทำให้ไขมันสะสมลดลง ตับอ่อนก็ต้องหลั่งอินซูลินเพื่อจัดการกับไขมันและน้ำตาลในสัดส่วนที่น้อยลง ลดภาวะดื้ออินซูลินได้ และร่างกายไวต่ออินซูลินมากขึ้น
ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ และควรวัดระดับน้ำตาลเลือดก่อนออกกำลังกาย ควรมีค่าอยู่ที่ 100-250 มก./ดล. และหากระหว่างออกกำลังกายมีอาการผิดปกติเช่น ใจสั่น หน้ามืด และไม่ควรออกกำลังกายช่วงเย็นเพราะอาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำในช่วงขณะที่นอนหลับพักผ่อนได้
แล้ว HUR มีประโยชน์ต่อการออกกำลังเวทเทรนนิ่งของผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร?
•HUR Medical Concept : HUR ได้ออกโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงสำหรับโรค Type 2 Diabetes
(ผู้เริ่มต้น / ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ) ระยะเวลา 6 เดือน
•เทคโนโลยีแรงต้านจากลม (Pneumatic Resistance): แรงต้านจากแรงลมจะทำให้การออกแรงนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ธรรมชาติ และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก เนื่องจากแรงต้านจากลมนั้นมีแรงกระชากน้อยกว่าเครื่องออกกำลังกายแบบแผ่นน้ำหนัก ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะเป็นผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย
•แรงต้านที่ปรับได้ละเอียด: เพิ่มแรงต้านได้ที่ละ 100 กรัม ทำให้การเริ่มต้นการออกกำลังกายเป็นไปอย่างง่ายดาย เพราะสามารถปรับน้ำหนักเพิ่มทีละน้อยได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความดันสูงร่วมด้วยเพราะหากน้ำหนักมากเกินไปอาจทำให้ต้องเกร็งมากขึ้นซึ่งอาจส่งผลเสียได้
•มีหลากหลายอุปกรณ์ให้เลือกใช้: ผู้ป่วยเบาหวานนั้นควรออกกำลังกายเวทเทรนนิ่งกล้ามเนื้อมัดใหญ่เป็นหลัก ซึ่ง HUR นั้นมีเครื่องออกกำลังกายให้เลือกเล่นได้หลายส่วนครบทั้งลำตัวส่วนบน แกนกลางลำตัว และลำตัวส่วนล่าง
•รองรับ Range of Limiter: ปรับช่วงการเคลื่อนไหวให้เหมาะสมแต่ละบุคคล(ROM)
•ระบบติดตามผล: จะมีการติดตามผลการเล่นใรตัวแปรต่างๆ เช่นน้ำหนักที่ใช้ จำนวนครั้ง เพื่อนำผลไปดูว่าในแต่ละครั้งว่ามีการพัฒนาขึ้นแล้วหรือไม่
•ระบบปรับคันโยกและเบาะอัตโนมัติ: เมื่อแตะบัตร ID และเลือกท่าออกกำลังกายแล้วตัวเครื่องจะปรับเบาะหรือคันโยกอัตโนมัติทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดบาดแผลจากการปรับเปลี่ยนน้ำหนักหรือเปลี่ยนท่าระหว่างการออกกำลังกาย เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นแผลแล้วจะหายยาก
HUR มีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2
เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ออกแบบมาโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกในการใช้งาน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวาน ซึ่งการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีประโยชน์อย่างมากในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
WHY HUR?
แรงต้านที่เกิดจากลม (Pneumatic Resistance) – จำลองการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของกล้ามเนื้อ โดยระดับความต้านทานจะปรับตามแรงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของกล้ามเนื้อ โดยไม่คำนึงความเร็วในการออกแรง ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับแรงต้านได้อย่างละเอียด (แรงต้านเริ่มต้นใกล้ศูนย์, ปรับครั้งละ 100 กรัม) และเหมาะสมกับความสามารถแต่ละบุคคล ลดแรงกระแทกต่อกล้ามเนื้อ, ข้อต่อ และเส้นเอ็น ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่อาจมีปัญหาข้อต่อหรือระบบประสาทปลาย (Neuropathy) ที่ต้องการการป้องกัน
ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computerized Technology) – ทำให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเป็นอิสระ ลดการขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ โดยการระบุตัวตนด้วย RFID อุปกรณ์ของ HUR จะทำงานอย่างอัตโนมัติ เช่น โหลดโปรแกรมฝึก/คำแนะนำการฝึก ปรับระดับที่นั่ง ปรับระดับแขนฝึก ปรับระดับแรงต้านของแต่บุคคล รวมถึงจัดเก็บผลการฝึกในระบบแบบเรียลไทม์ มีหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) ขนาดใหญ่แสดงผลการทำงานและง่ายต่อการควบคุม
รายงานผลและติดตามผล (Outcome Reporting) – HUR SmartTouch เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยบันทึก ติดตามผล รายงานและประเมินผลการฝึกออกกำลังกายแต่ละบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของการฝึกและสุขภาพได้ ช่วยกระตุ้น สร้างแรงจูงใจและเสริมสร้างความมุ่งมั่นในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย
ปรับเพิ่มแรงต้านอัตโนมัติ (Automated Progressive Resistance) – โดยจะเพิ่มแรงต้านทีละน้อยอย่างอัตมัติ ตามความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นของแต่ละบุคคล สร้างความท้าทายให้กับกล้ามเนื้ออยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจว่ากล้ามเนื้อและสุขภาพของผู้ป่วยจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับผู้สูงอายุ (เช่น ลดความดันโลหิต) และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรง ปรับปรุงการเดินและความคล่องตัว
ความปลอดภัย (BUILT-IN SAFETY MECHANISMS) – HUR ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ และคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ โดยให้เข้าใช้งานได้ง่าย และมีกลไกเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับกับผู้ฝึก เช่น ด้ามจับเพื่อเข้าใช้งานเครื่อง เข็มขัดนิรภัย สายรัดเท้า สายรัดต้นขา และตัวจำกัดช่วง/ระยะการฝึก เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการเกิดแผลจากการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน