google-site-verification=AZYzOVBMoD50hYwO-aFXTfIkjYm89QkuL326hVK9ig0

ปั่นจักรยานยิ่งช่วยชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุให้ห่างไกลโรค

ปั่นจักรยานยิ่งช่วยชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุให้ห่างไกลโรค

ปั่นจักรยานยิ่งช่วยชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุให้ห่างไกลโรค การออกกำลังอย่างง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกาย และปลอดภัยต่อผู้สูงอายุก็คือ การปั่นจักรยาน ซึ่งจักรยานที่เราจะมาแนะนำ มันเป็นจักรยานออกกำลังกาย หรือจักยานฟิตเนสคือจักรยานอยู่กับที่ แต่จักรยานฟิตเนสมีหลายประเภท เช่น  Air Bike 1(จักรยานออกกำลังกายแบบลม), Spin bike2 ,Upright exercise bike3 (จักรยานออกกำลังกายแบบนั่งตรง), Recumbent bike 4( จักรยานออกกำลังกายแบบเอนปั่น)  เป็นต้น

จักรยานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมากที่สุด คือ Recumbent bike ( จักรยานออกกำลังกายแบบเอนปั่น) เพราะจักรยานประเภทนี้ถูกออกแบบให้ออกกำลังกายในท่านั่งแบบเอน มีพนักพิง ให้ความปลอดภัยสูง และยังเหมาะสำหรับผู้มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อ , กระดูก หรือคนที่น้ำหนักมาก เพราะเป็นการนั่งปั่น ทำให้ไม่เกิดแรงกระแทกใดๆ ต่อข้อต่อทั้งข้อเข่าและข้อสะโพก ซึ่งจักรยานออกกำลังกายแบบเอนปั่นสามารถใช้สำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของกล้ามเนื้อส่วนล่าง

ซึ่งการออกกำลังกายประเภทจักรยาน คือการออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอ (Cardio exercise) เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มอัตราการเต้นหัวใจและการไหลเวียนของโลหิตให้ดีมากขึ้น ทางที่ดีควรออกกำลังกายอย่างน้อย วันละ 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง  ซึ่งมีคำกล่าวของ คุณมงคล วิจะระณะหรือท่านอุปนายกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ว่า“การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานนั้นจะทำให้ข้อต่อกระดูก ทำงานไม่หนักเกินไป เพราะผู้สูงอายุก็คงมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก และข้อต่อเป็นธรรมดา ซึ่งการปั่นจักรยาน จะช่วยในเรื่องระบบการไหลเวียนของเลือด ทำให้หัวใจแข็งแรง ที่สำคัญคือตะกรันไขมันที่จับอยู่ตามเส้นเลือดของเรา ก็จะถูกกำจัดออกไปด้วย จึงสามารถป้องกันภาวะเส้นเลือดตีบตันได้อีกทางหนึ่ง ส่วนอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด ก็ไม่ต้องพูดถึง ย่อมส่งผลดีไปด้วยเช่นกัน”

จากที่กล่าวมาข้างต้นได้สอดคล้องกับทางการแพทย์ว่าการออกกำลังกายประเภทนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนักด้วยการช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญแคลลอรี่ในร่างกาย และส่งผลถึงระบบขับถ่ายให้ทำงานดีขึ้น เพราะช่วยกระตุ้นให้อาหารให้ไหลผ่านลำไส้ได้เร็ว และเพิ่มกำลังในการบีบรัดตัวของลำไส้ ยิ่งสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ได้ รวมไปถึงช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นได้เกือบเท่ากับการวิ่ง ยิ่งออกกำลังกายมากเท่าไหร่ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่จึงผลต่ออารมณ์และจิตใจให้มีอารมณ์ดีมากขึ้น และยังช่วยทำให้นอนหลับง่าย และหลับสนิทมากขึ้น ลดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย  ช่วยให้ดูอ่อนวัยขึ้นได้และมีผิวพรรณดี แถมเพิ่มประสิทธิภาพสมอง เพราะช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองในส่วนความจำ จึงช่วยป้องกันความจำเสื่อมได้  จากการที่การไหลเวียนของโลหิตสามารถไหลเวียนได้ดี

โดยมีผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม เผยบทความการแพทย์ Aging Cell ซึ่งพบความพิเศษทางร่ายกายของผู้ที่รักการปั่นจักยาน  เมื่อทีมวิจัยได้ตรวจสอบสภาพร่างกายของผู้ที่ปั่นจักรยานเพื่อการออกำลังกาย 125 คน ได้ทำการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ปั่นจักรยานอย่างสม่ำเสมอและกลุ่มไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเปรียบเทียบกับคนวัยผู้ใหญ่ อายุ 57-80 ปี และวัยหนุ่มสาว อายุตั้งแต่ 20-36 ปี โดยแยกเป็นชาย-หญิงเป็นนักปั่นจักรยานชาย ปั่นจักรยานเป็นระยะทาง 100 กิโลเมตร ในเวลา 6 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนผู้หญิงให้ปั่นจักรยาน100  กิโลเมตร ในเวลา 5 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งปรากฏว่า “ผู้ที่ปั่นจักรยานเป็นประจำ จะรักษาสภาพกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของร่ายกายไว้ได้มากกว่า รวมทั้งมีระดับไขมัน และคอเลสเตอรอลคงที่สม่ำเสมอ”  มีอีกผลงานวิจัย ของศาสตราจารย์ เจเน็ต ลอร์ด ผู้อำนวยการสถาบันที่เชี่ยวชาญด้านภาวะอักเสบและการเสื่อมสภาวะของร่างกาย จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม พบว่า“ผู้สูงอายุที่ปั่นจักรยานเป็นประจำ มีปริมาณ T-Cellหรือ เซลล์ภูมิคุ้มกันโรค ที่ผลิตจากต่อมไทมัส เทียบเท่ากับคนหนุ่มสาว ทั้งที่ต่อมไทมัสจะเริ่มหดตัวลงเมื่ออายุมากขึ้น และจะเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป” และมีบทความการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม พบว่า “ผู้ที่ปั่นจักรยานเป็นประจำวัน สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้มากกว่าร้อยละ 40 และ ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งและโรคหัวใจได้มากถึงร้อยละ 45”  ทำให้เห็นว่ายังคงมีผลงานการวิจัยมากมายที่บ่งบอกถึงคุณประโยชน์ของการปั่นจักรยาน ว่าเป็นหนึ่งในการออกกำลังกาย ที่ถือเป็นยาวิเศษของมนุษย์มายาวนาน

จึงอยากแนะนำให้คนทุกวัยหันมาอออกกำลังกันเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับโรคภัยและเตรียมสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรง ปราศจากโรค และชะลอความเสื่อมก่อนเข้าถึงผู้สูงวัยอย่างฉลาด ซึ่งทางเรามีจักรยานออกกำลังกายแนะนำ คือ จักรยานออกกำลังกายแบบเอนปั่น รุ่นCyberCycle   ของยี่ห้อ HUR โดยเครื่องออกกำลังกายชนิดนี้สามารถเล่นได้ในทุกช่วงวัย พร้อมกับรูปแบบเกมส์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเพลิดเพลิน สนุกสนานและส่งเสริมด้านสติปัญญา ความจำให้ผู้สูงอายุ โดยเครื่องนี้จะช่วยส่งเสริมทั้ง4 ด้าน เช่น ทางด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ และสังคม เป็นต้น

Recumbent bike หรือ จักรยานออกกำลังกายแบบเอนปั่น ปั่นจักรยานยิ่งช่วยชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุให้ห่างไกลโรค

จักรยานออกกำลังกายแบบเอนปั่น แบบมีพนักพิง เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อและกระดูก ข้อต่อรวมไปถึงผู้สูงอายุ หรือคนที่น้ำหนักมาก เพราะเป็นการนั่งปั่น ทำให้ไม่เกิดแรงกระแทกต่อกระดูกตั้งแต่ช่วงสะโพกลงมาเลยหรือเพื่อฟื้นฟูจากปัญหาด้านกล้ามเนื้อ  เครื่องออกกำลังกายชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงอีกด้วย

หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี
หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี ควีคำนิงถึงน้ำหนักแรงที่ใช้ออกกำลังเพื่อให้เหมาะสมกับวัย

จักรยานยืนปั่น Spin bike ปั่นจักรยานยิ่งช่วยชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุให้ห่างไกลโรค

จักรยานรุ่นนี้เหมาะกับการเบิร์นเป็นอย่างดี ด้วยลักษณะการขับขี่ที่สามารถปรับได้ทั้งแฮนด์จับและเบาะนั่ง ทำให้เพิ่มอัตรารถรสในการปั่นมากขึ้นทั้งแบบนั่งปั่น, หมอบปั่น, ยืนปั่น ซึ่งปั่นด้วยความเร็วที่มากได้ตามที่เราต้องการ

จักรยานออกกำลังกายแบบนั่งตรง ปั่นจักรยานยิ่งช่วยชะลอความเสื่อมในผู้สูงอายุให้ห่างไกลโรค

มีลักษณะเหมือนการขี่จักรยานทั่วไปเป็นการนั่งตรงแล้วปั่น สามารถปรับระดับความหนักได้ แต่เครื่องนี้จะเปลี่ยนท่าทางไม่ค่อยได้ เนื่องจากลักษณะการนั่งที่ถูกบังคับมาให้จับแฮนด์แบบตายตัว  จึงช่วยบริหารส่วนของขาได้เป็นอย่างดี และเป็นการออกกำลังกายระดับเบาจนถึงระดับปานกลาง โดยจะเน้นฟื้นฟูกล้ามเนื้อแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยจักรยานชนิดนี้ปลอดภัยและเหมาะสำหรับการยืดเส้นยืดสาย ยิ่งเป็นผู้ที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อ  ปัญหาข้อเข่าและผู้ที่น้ำหนักตัวมาก

ASG wellness & Innovation ให้บริการอุปกรณ์ออกกำลังกายรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรม
เพื่อทำให้การออกกำลังกายมีความสะดวก ปลอดภัย และตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล


บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง


error: Content is protected !!