google-site-verification=AZYzOVBMoD50hYwO-aFXTfIkjYm89QkuL326hVK9ig0

วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต้านไวรัสโควิด-19

วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต้านไวรัสโควิด-19

วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต้านไวรัสโควิด-19 ณ ปัจจุบัน เชื้อโควิด-19 ไวรัสตัวร้ายได้แพร่ระบาดไปแล้วหลายประเทศทั่วโลกและอัตราการตายในหลายประเทศทั่วโลกมีอัตราที่สูงขึ้น ตามกราฟ ภาพที่1  ซึ่งขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข รายงานจำนวนผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อในประเทศไทย  ทำให้จำนวนสะสมอยู่ที่ 721 ราย ในวันที่ 23 มีนาคม 2563 อัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสนี้อยู่ที่ร้อยละ 2 เป็นค่าอัตราที่ทำให้เสียชีวิตที่ต่ำมาก แต่ที่หลายประเทศไม่สามารถควบคุมอัตราการติดเชื้อได้ เนื่องจากความประมาทการใช้ชีวิตในชีวิตประจำวันและเชื้อสามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะเป็น น้ำตา น้ำมูก น้ำลาย เหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระ เป็นต้น   โดยวันนี้มีคำแนะการปฏิบัติตัวและการรับประทานอาหารและสารอาหารที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนี้  

  • นอนหลับให้เพียงพอ การนอนหลับอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้การทำงานของร่างกายได้รับการซ่อมแซ่ม และการทำงานของฮอร์โมนได้ปกติ ยังมีผลต่อการสร้างระบบภูมิต้านทานของร่างกาย เช่น แอนติบอดี หรือ ทหารกำจัดเชื้อโรคนั้นเอง  โดยการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยชิคาโก ในผู้ที่นอนหลับคืนละ 7 ชม. เป็นเวลา 4 วัน แล้วทำการฉีดวัคซีนไข้หวัด พบว่าคนกลุ่มนี้จะสามารถสร้างแอนติบอดีหรือระบบภูมิต้านทานต่อเชื้อไข้หวัดได้มากกว่าผู้ที่นอนหลับคืนละ 4 ชม. ถึง 50%
  • ดื่มน้ำเปล่า ที่อุณหภูมิปกติห้อง ควรดื่มน้ำเปล่า อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือปริมาณน้ำ 2 ลิตรต่อวัน  เนื่องจากน้ำจะช่วยเพิ่มสารคัดหลั่งและความชุ่มชื้นของเยื่อบุผิวในท่อทางเดินหายใจส่วนบน ที่จะช่วยป้องกัน และดักจับฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
  • ลดความเครียด อารมณ์เครียดจะส่งผลเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดลงจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเป็นประจำ การออกกำลังกายนอกจากช่วยให้กล้ามเนื้อร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยขับของเสียผ่านทางเหงื่อและเพิ่มปริมาณการไหลเวียนโลหิต  ยังทำให้การทำงานในระบบภูมิต้านทานดีขึ้น เช่น แอนติบอดี และเม็ดเลือดขาว เดินทางไปทำลายสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น แต่ในช่วงนี้ต้องออกกำลังกายที่บ้าน หรือบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท และต้องไม่มีผู้คนแออัด
  • รับประทานอาหารให้ครบถ้วนเพียงพอตามหลักโภชนาการและปรุงสุก การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ ครบ 5หมู่ ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก ผลไม้ ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี และแร่ธาตุ บางชนิด ได้แก่ ซีลีเนียม และสังกะสี ซึ่งมีผลเพิ่มการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และอี ยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระอันเป็นตัวการก่อมะเร็งได้อีกด้วย
  • สมุนไพรไทย
  • 1 ) พลูคาว (ผักคาวตอง) มีสารสําคัญ คือ quercetin, quercitrin, rutin และ cinanserin พบว่ามีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อ SAR และเชื้อโคโรน่าที่ก่อใน COVID-19
  • 2 ) ผลไม้ตระกูลส้ม (ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า) พบว่ามีสาร hesperidin และ rutin ซึ่งเป็นสารสําคัญที่พบมากในผิวและเยื่อหุ้มด้านในเปลือกผลของพืชตระกูลส้ม มีศักยภาพสูงในการลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสที่ก่อโรค COVID-19 (จากการยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์และยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส) และในช่วงที่มีโรค COVID-19 ระบาดที่ประเทศจีน มีรายงานว่ามีการใช้ชาเปลือกส้มช่วยรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่นด้วย นอกจากนี้ ส้มเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง จึงเหมาะสําหรับการบริโภคเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน สามารถป้องกันโรคระบาดจากเชื้อไวรัสได้
  • 3 ) หอมแดง (Allium ascalonicum L.) หอมใหญ่และหอมแดงเป็นสมุนไพรในครัวที่มีการใช้ตามภูมิปัญญาไทยในการบรรเทาอาการหวัดคัดจมูกมาเนิ่นนาน ปัจจุบันมีการศึกษาโดย พบว่ามีสาร Quercetin ที่พบในหัวหอมหรือหอมแดงมีฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรค COVID-19 และมีการศึกษาพบว่าหอมแดงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ดีเช่นกัน
  • 4 ) มะรุม (Moringa oleifera Lam.) พบว่าเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงแล้ว พบว่ามีสารสําคัญชนิด Quercetin และ kaempferol ที่สามารถฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรค COVID-19 ได้ดี
  • 5 ) หม่อน (Morus alba L.) พบว่า มีสาร rutin จากใบหม่อนสามารถแย่งจับไวรัสที่ตัวรับในปอด ซึ่งมีผลยับยั้งไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ดีและในช่วงที่มีโรคCOVID-19 ระบาดที่ประเทศจีน มีรายงานว่ามีการใช้ชาใบหม่อนช่วยรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย นอกจากนี้ ลูกหม่อนเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ มีฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ
  • 6 ) ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นสมุนไพรในครัวที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรค ทั้งโรค SARS, influenza, novel influenza H1N1 (WT), และ COVID-19 ในหลอดทดลอง และพบฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วย
  • 7 ) กะเพรา (Ocimum tenuiflorum L.)  พบว่ามีฤทธิ์ลด โอกาสการติดเชื้อ ก่อโรค COVID-19 นอกจากนี้ กะเพรายังมีน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) และพบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดปวด และสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพได้หลายชนิด
  • 8 ) ธัญพืช ธัญพืชหลายชนิดมีสาร lignan ที่พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อ COVID-19

  • ผักผลไม้ที่มีวิตามินซีและสารในกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์สูง ผักที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ควรรับประทานสารอาหารที่มีวิตามินซี ต่อวันอยู่ที่  500- 1000 มก. ต่อวัน ส่วนผู้ใหญ่ที่มีโรคภูมิแพ้ควรรับประทานสารอาหารที่มีวิตามินซี ต่อวันอยู่ที่ 2000 มก.ต่อวัน เนื่องจากวิตามินซีจะเข้าไปช่วยลดสารต้านอนุมูลอิสระและกาอักเสบของหลอดเลือด อีกทั้งช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไตวาย เป็นต้น ซึ่งไม่ควรรับประทานเกินวันละ 2,000มก. จะทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ มีรายงานการศึกษาการศึกษาที่พบว่าผัก 10 ชนิดที่มีวิตามินซีสูง สามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านการติดเชื้อไวรัสได้ ดังนี้
  • ดอกขี้เหล็ก มีวิตามินซี 484 มก.
  • ฝักมะรุม มีวิตามินซี 262 มก.
  • ยอดมะยม มีวิตามินซี 302 มก.
  • ยอตสะเดา มีวิตามินซี 194 มก.
  • ใบเหลียง มีวิตามินซี 192 มก.
  • มะระขึ้นก มีวิตามินซี 190 มก.
  • ฟักข้าว มีวิตามินซี 178 มก.
  • ผักเชียงดา มีวิตามินซี 153 มก.
  • ผักหวาน มีวิตามินซี 218 มก.
  • พริกชี้ฟ้าเขียว มีวิตามินซี 204 มก.
  • คะน้า มีวิตามินซี 147 มก.
  • ผักแพว มีวิตามินซี 115 มก.
  • ผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
  • มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีรสชาติถึง 5 รสด้วยกัน คือ เปรี้ยว หวาน เผ็ดร้อน ขม และ ฝาด มะขามป้อมเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและสารในกลุ่มโพลีฟีนอลในปริมาณที่สูง  ทําให้สามารถดูดซึมและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า นอกจากนี้ รสเปรี้ยวในมะขามป้อมยังมีฤทธิ์กัดเสมหะ บรรเทาหวัด และแก้ไอได้ดีดังนั้น มะขามป้อมจึงเป็นผลไม้/สมุนไพรที่เหมาะสําหรับการบริโภคเพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อโรคในช่วงที่มีโรคระบาดนี้
  • ผลไม้มีสีต่าง ๆ ผลไม้ที่มีผลสีเหลือง ส้ม แดง ม่วง จะประกอบด้วยสาร สําคัญอย่างแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มเฟลโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกันและเป็นสารที่ช่วยให้วิตามินซีสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น  ผักที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้านการอักเสบ
  • พืชผักพื้นบ้าน สามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสก่อโรค ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบได้ดี   ได้แก่ พลูคาว (ผักคาวตอง) เป็นผักที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านอักเสบ  เห็ดต่าง ๆ เช่น เห็ดหอม เห็ดออริจิ เห็ดนางฟ้า เห็ดหลินจือ(Ganodermalucidum (Fr.) Karst.) สารกลุ่มเบต้ากลูแคนที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคได้
  • ตรีผลา  ประกอบด้วยผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม ตามคัมภีร์ทางแพทย์แผนไทย ตรีผลามีสรรพคุณช่วยปรับธาตุปรับสมดุลของร่างกาย ควบคุมและกําจัดสารพิษในร่างกาย จากข้อมูลการศึกษาที่พบว่าตรีผลามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ แรงและมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะกระตุ้นการทํางานของเม็ดเลือดขาว และยังแก้กองเสมหะ
  • ขิง (Zingiber officinale Roscoe) ประกอบสารที่ให้รสเผ็ดร้อนและน้ํามันหอมระเหย ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดอาการไอ และยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรคในทางเดินหายใจได้
  • ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd.) เหง้าข่ามีรายงานว่าประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยและยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์แก้แพ้ ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ระงับการปวด
  • กระเทียม (Allium sativum L.) ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 0.1-0.4% และยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคจากข้อควรปฏิบัติตนและรับสารอาหารที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย อยากให้ผู้อ่านได้ลองไปปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อพวกเราทุกคนป้องกันและชะลอการติดเชื้อจากโควิท-19ได้

ASG wellness & Innovation ให้บริการอุปกรณ์ออกกำลังกายรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรม
เพื่อทำให้การออกกำลังกายมีความสะดวก ปลอดภัย และตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล

error: Content is protected !!