การออกกำลังกาย ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ลดเบาหวานได้จริงหรือ โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) เป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรังที่มีค่าสถิติการเกิดโรคที่ อันดับต้นของโลก ยังคงมีสถิติการพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ยังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพราะถือว่าโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดและมีโอกาสเสี่ยง ต่อโรคแทรกซ้อนจนสามารถลุกลามถึงขั้นต้องสูญเสียอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) คือ ภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการทำงานผิดปกติของร่างกายในการผลิตฮอร์โมนจากตับอ่อน โดยไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ขึ้นมาได้ หรือ ร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ส่งผลให้ร่างกายไม่มีขบวนการนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ในเซลล์ เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง พวกเราสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยทั้งควบคุมอาการและการออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานสามารถช่วยให้ลดร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)และช่วยให้การทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในของโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจ ไตวาย เป็นต้น ขณะออกกำลังกายควรสังเกตร่างกายและควรระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia )และภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ถ้าเกิดมีอาการ 2 อย่างนี้ให้หยุดออกกำลังกายทันที เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและสามารถป้องกันการเกิด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia ) และภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ได้โดยก่อนการออกกำลังกายควรปฏิบัติตน ดังนี้
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกำลังกาย ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยขณะออกกำลังกาย
- เมื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว
– ค่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า100 มก/ดล สามารถรักษาได้ด้วยตนเอง โดย ควรรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม เช่น ลูกอม 3 เม็ด น้ำส้มคั้น 150 มล น้ำหวาน กลูโคสแบบเม็ด กลูโคสแบบเจล น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา นม 240 มล กล้วยน้ำหว้าสุก 1ลูก ขนมปัง แครกเกอร์ 2-3 แผ่นใหญ่ เป็นต้น รอประมาณ15 นาที แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดยังคงไม่เกิน 100 มล/ดลควรรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ต่อจนกว่าค่าระดับน้ำตาลไม่น้อยกว่า 100 มก/ดล
– ค่าระดับน้ำตาลอยู่ในช่วง 100-300 มก/ดล ถือว่าสามารถออกกำลังกายได้เลย
– ค่าระดับน้ำตาลอยู่ในช่วง มากกว่า 300 มก/ดล ควรดั้บการปรึกษาจากแพทย์ก่อนได้ออกกำลังกาย - ก่อนและหลังออกกำลังกายทุกครั้ง ต้องมีการวอร์มอัพ (warm up) และ คลูดาวน์ cool down เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกายในการออกกำลังกาย โดยทำประมาณ 5-10นาที
- ประเภทของการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ การออกกำลังกาย ประเภทแอโรบิค (Aerobic exercise) และการออกกำลังกายประเภท ออกกำลังกายมีแรงต้าน (resistance exercise) โดยการออกกำลังกายประเภทแอโรบิค (Aerobic exercise) เป็นการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน เพื่อช่วยให้ระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบหายใจทำงานได้ดีมากขึ้น ควรออกกำลังต่อเนื่องอย่างน้อยวันละ 30 นาทีขึ้นไป โดย 3-5 วัน ต่อสัปดาห์ ประเภทการออกกำลังกาย เช่น เดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ความหนักของการออกกำลังกายควรอยู่ในระดับปานกลาง ที่สามารถวัดโดยใช้การทดสอบระดับความหนักของการออกกำลังกายด้วยการพูด (Talk Test) ซึ่งสามารถพูดคำ หรือประโยคได้ขณะออกกำลังกายเพื่อเปรียบเทียบความหนักของการออกกำลังกายได้
- การออกกำลังกายประเภท ออกกำลังกายมีแรงต้าน (Resistance Exercise) หรือ การออกกำลังกายชนิดเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ (Strengthening Exercises) หมายถึง การออกกำลังกายต้านแรงโน้มถ่วงอย่างหนึ่ง โดยจะเน้นที่การสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละมัดหรือกลุ่ม เช่น การยกน้ำหนัก,การยกน้ำหนักโดยเครื่องยกน้ำหนัก (weight machines), การออกกำลังกายโดยใช้สายยางแต่การอออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรใช้เป็น ถุงทรายขนาด 0.5 ,1 และ 2 กิโลกรัม ขวนน้ำขนาด 1,500 ลิตร เป็นอุปกรณ์เพิ่มน้ำหนักในการออกกำลังกายประเภทนี้ ดังนี้
6. สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีข้อควรระวังขณะออกกำลังกาย คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia )และภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
6.1 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia ) คือ ภาวะที่น้ำตาลในเลือดต่ำ สาเหตุการเกิดมีได้หลายกรณี ตั้งแต่ยาที่เกี่ยวกับการรักษาโรคเบาหวาน หรือ ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน เพราะหากใช้อินซูลินมากเกินไปก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงต่ำมาก รวมไปถึงการทำงานของการหลั่ง
อินซูลินออกมามากไป หรืออาจเกิด จากเนื้องอกของตับอ่อนที่สร้างอินซูลิน (Insulinoma) หรือจากการที่รับประทานอาหารปริมาณน้อยกว่าปกติหรือไม่เพียงพอ หรืองดมื้ออาหาร หรือเลื่อนเวลารับประทานอาหาร รวมไปถึงปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารที่ทำให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลต่ำลง เมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia ) ร่างกายจะมีอาการแสดง ดังนี้
- รู้สึกร้อน เหงื่อออกง่าย กระวนกระวาย และมือสั่น คล้ายกับหิวอยู่ตลอดเวลา
- มีความกังวล สับสน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คิดอะไรไม่ออก
- หัวใจเต้นแรงและเร็ว รู้สึกหวิวๆ คล้ายจะเป็นลม หน้ามืดได้ง่ายกว่าปกติ
- มีอาการชาตามมือ เท้า และรอบปาก ตาพร่ามัว
เมื่อเกิดอาการดังนี้ สามารถรักษาด้วยตนเอง คือการรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตให้ได้ 15 กรัม และควรเตรียมลูกอม, น้ำหวาน ,น้ำผลไม้ 100% หรือน้ำก้อนติดตัวอยู่เสมอ แล้วรอ15 นาทีในการตรวจระดับระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง ถ้าหากยังต่ำกว่า 70 มก/ดล ควรรับประทานจำพวกคาร์โบไฮเดรตให้ได้ 15 กรัม ต่อจนกว่าระดับระดับน้ำตาลในเลือดกลับเข้าสู่ระดับปกติ ถ้าผู้ป่วยโรคเบาหวานหมดสติ ตัวเย็นผิดปกติ หรือมีอาการชัก จึงควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากไม่ได้รักษาอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
6.2 ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) คือ มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 300 มก./ดล จึงทำให้ร่างกายจะขับปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากร่างกาบต้องการขับน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะ และเมื่อได้ร่วมกับการออกกำลังกาย จะต้องมีการสูญเสียเหงื่อ จึงทำให้เกิดภาวะนี้ได้ ซึ่งอาการของภาวะขาดน้ำ จะมีอาการแสดง ดังนี้
1 กระหายน้ำ
2 อ่อนเพลีย
3 ตาแห้ง ผิวแห้ง ปากแห้ง
หากเกิดอาการดังกล่าวควรหยุดออกกำลังกายและดื่มน้ำทดแทนทันที
การออกกำลังกายในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน คำแนะนำในการออกกำลังกาย
- ควรออกกำลังหลังมื้ออาหาร อย่างน้อย 1-2 ชม.
- ออกกำลังกายในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- สวมใส่เสื้อผ้า และรองเท้าที่เหมาะสม เลี่ยงเสื้อผ้าที่รัดแน่น
- ตรวจดูเท้าก่อนออกกำลังกายทุกครั้งว่าไม่มีแผล ไม่มีร่องรอยของการบาดเจ็บใด ๆ เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนมากอาจไม่มีความรู้สึกที่มือและเท้า ทำให้ไม่รู้ตัวว่ามีบาดแผลเกิดขึ้น
- ควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับกีฬาแต่ละชนิด
- ควรดื่มน้ำก่อน ระหว่างและหลังการออกกำลังเพื่อเลี่ยงการขาดน้ำ
- เลี่ยงการออกกำลังระดับที่หนักเกินไป
- ถ้ามีอาการผิดปกติขณะออกกำลัง เช่น เวียนศีรษะ เหนื่อย ให้หยุดและปรึกษาแพทย์
- ควรพกลูกอมหรือน้ำตาลเผื่อไว้ เมื่อรู้สึกวูบ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะได้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ทัน
ข้อควรระวัง
- หากท่านมีภาวะแทรกซ้อน จากเบาหวานเช่น โรคหัวใจ, แผลที่เท้า, เบาหวานขึ้นตา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
- ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่า ข้อเท้า ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก เช่น การวิ่ง กระโดดเชือก เป็นต้น
- ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาบริเวณปลายประสาทไม่ควรวิ่งหรือกระโดด แต่ควรจะออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและกระตุ้นปลายประสาท
- ควรทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะ ทั้งก่อน ระหว่างและหลังออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia )
ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อทำเป็นประจำ
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อระดับน้ำตาลลดลงก็จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน
- ลดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้เพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลินเพิ่มขึ้นและไวอินซูลินออกฤทธิ์ได้นานขึ้นและช่วยให้คุมเบาหวานดีขึ้น
- ควบควบคุมน้ำหนัก
- ลดระดับไขมันในเลือด
- ลดระดับความดันโลหิต
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
- เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของการร่างกาย
- ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว เพิ่มการสร้างสังคม เพิ่มความมั่นใจและความภาคภูมิใจ
- ลดความเครียดจากการหลั่งของฮอร์โมน endorphin และ serotonin ในสมอง
- ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงผู้ป่วยจะใช้ยาน้อยลง