google-site-verification=AZYzOVBMoD50hYwO-aFXTfIkjYm89QkuL326hVK9ig0

ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างไร

ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างไร สำหรับผู้ที่มีอายุ อายุ 60 ปี ขึ้นไป สภาพร่างกายเริ่มเสื่อมลง ร่างกายไม่กระฉับกระเฉงเหมือนตอนเป็นหนุ่มเป็น กระดูกเริ่มมีการเปราะบางขึ้น กล้ามเนื้อลดความแข็งแรง และที่สำคัญหัวใจกับปอดเริ่มเสื่อมสภาพลง การออกกำลังกายสามารถช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของร่างกาย ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุล โดยต้องทำอย่างสม่ำเสมอและเลือกออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บขณะออกกำลังกาย หรือหลังการออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย

ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างไร ให้เหมาะสม ปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย

1. การเตรียมตัวก่อนออกกำลังกาย

ควรได้รับการทดสอบประเมินความพร้อมของร่างกาย เพื่อที่จะสามารถออกแบบโปรแกรม หรือเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับปัญหา หรือข้อบกพร่องของตัวเองได้ตรงจุด หรือเพื่อทราบว่าควรหลีกเลี่ยงประเภทการออกกำลังกายรูปแบบไหนที่อาจส่งผลก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อร่างกายได้

2. การออกแบบ หรือเลือกประเภทการออกกำลังกาย

เมื่อได้รับการตรวจวัดประเมินความพร้อมของร่างกาย ควรได้รับการวิเคราะห์ถึงปัญหาของร่างกาย เพื่อเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสม ปลอดภัย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุด โดยการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

            2.1 กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ปอด และหลอดเลือด (Cardio)

            2.2 เสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ ข้อและกระดูก (Strength)

            2.3 ฝึกความสมดุลของร่างกาย / การทรงตัว (Balance)

3. ขณะฝึกออกกำลังกาย

            สำหรับผู้สูงอายุที่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ก่อนเริ่มออกกำลังกายต้องตรวจเช็คสภาพร่างกายตัวเอง เช่น ตรวจวัดความดัน, สังเกตอาการมีวิงเวียนศีรษะไหม, หัวใจเต้นปกติไหม ฯลฯ เพราะหากมีอาการใดอาการนึงที่ผิดปกติไม่ควรออกกำลังกาย สำหรับการฝึกออกกำลังกายควรเริ่มต้นการออกกำลังกายจากเบา ๆ / ช้า ๆ ก่อนเพื่อให้ร่างกายเริ่มปรับตัว และค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้ง หรือเวลาเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยต้องมั่นสังเกตตัวเองขณะฝึกออกกำลังกายสามารถพูดคุยได้ หากมีอาการเหนือยหอบเกินไป ควรลดระดับลงมาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวเองก่อน

            สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว การทรงตัวไม่ดี หรือต้องใช้รถเข็นควรมีผู้ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิดในขณะฝึกออกกำลังกาย และผู้ดูแลควรสังเกตอาการ หรือพูดคุยหากผู้สูงอายุสามารถสื่อสารไม่ปกติ ควรให้หยุดออกกำลังกาย หรือปรับระดับการออกกำลังกายลดลงจากเดิม

4. การติดตามผลหลังการออกกำลังกาย

            หลังการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3 – 6 เดือน ควรได้รับการติดตามผลว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างไรโดยเทียบจากผลการทดสอบก่อนการเลือกการออกกำลังกาย เพื่อให้เราพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และสามารถปรับการออกกำลังกายรูปแบบใหม่ให้เหมาะสมกับร่างกาย ให้ร่างกายได้เพิ่มความแข็งแรงมากขึ้น

ASG wellness & Innovation ให้บริการอุปกรณ์ออกกำลังกายรูปแบบใหม่ที่มีการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรม
เพื่อทำให้การออกกำลังกายมีความสะดวก ปลอดภัย และตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล

error: Content is protected !!